ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย

ผู้แต่ง

  • สุทัสสี รังวารี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่าน้ำตาลมากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้งใน 6 เดือน ที่ขึ้นทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย จำนวน 40 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน แบบวัดการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมันของแบบประเมินความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เท่ากับ 0.96 แบบวัดการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเท่ากับ 0.94 แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง 0.97 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม โดยใช้สถิติ Pair t-test

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน รวมระยะเวลา 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เรื่องโรคเบาหวาน รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแล ตนเอง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีระดับน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ข้อเสนอแนะ จึงควรมีการจัดกิจกรรมเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีอย่างถาวร และขยายผลต่อไปยังผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ

References

มนรดา แข็งแรง,นันทัชพร เนลสัน,สมจิตร การะสา,ปิตินัฏ ราชภักดี. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี, เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานการวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน. 2560; 968-980.

ประชุมพร กวีกรณ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา.2559; 4(3). 308-324.

โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. สถิติข้อมูลผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. ; 2563-2565.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์;2558.

Bloom,Benjamin S.,et al. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company;1971.

Best, J.W. Research in Education. New Jersey : Prentice – Hall; 1981.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด,ประสิทธิ์ ลีวัฒนภัทร.การศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องเบาหวานต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วชิรสารการพยาบาล 2560; 19(1):33-41.

วรางคณา บุตรศรี , รัตนา บุญพา, ชาญณรงค์ สิงห์บรรณ. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2564;18(1)13-25.

รัตนา เกียรติเผ่า. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลทัพทัน .2558; 24(3) 405-412.

ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. 2561; 8 (1) 103-117.

เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ . ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรพิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์; (2561); 45-58.

ประชุมพร กวีกรณ์,ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2559; (3) 307-324.

ดวงหทัย แสงสว่างและคณะ.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)2561; (1) 103-11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

รังวารี ส. (2023). ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สำหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 152–161. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268663