การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ : 2 กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ คชอาจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยสูงอายุ ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง 2) ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้องมีความปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน  เก็บข้อมูลจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวและมีภาวะมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและต้องได้รับการยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดแบบส่องกล้อง  โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลย้อนหลัง 1 ปีของปี 2565 โดยการนำแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนและทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเรมมาใช้

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีประเด็นปัญหาที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ผู้ศึกษาจึงได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการพยาบาลแบบองค์รวม นำมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและกระบวนการพยาบาลทั้งในระยะก่อน ขณะ และหลังให้ยาระงับความรู้สึกที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคมและจิตวิญญาณ ตลอดจนนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์การณ์จากการปฏิบัติงานในการให้ยาระงับความรู้สึกผู้ป่วยสูงอายุมาใช้ พบว่าผู้ป่วยมีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ Natonal Cancer Control Programme (พ.ศ.2561-2565).กรุงเทพ;2562.[อ้างเมื่อ19 ตุลาคม2566] จาก htt://www.nci.go.th/th/File_download/D_index PDF

ชูชีพ สหกิจรุ่งเรือง,อรุณ โรจนสกุล.การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนักผ่านทางกล้องส่อง.[ออนไลน์]2001[อ้าง เมื่อ 25 กันยายน 2565] จาก https://www.clmjournal.org/_fileupload/jour/261-4-8.pdf.

บุศรา ศิริวันสาณฑ์, พิชญา ไวทยะวิญญู, นฤนาท โลมะรัตน์. Anesthesia & Perioperative Care. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2563.

ปณต ยิ้มเจริญ.Preoperative Consideration in Laparoscopic Surgery.Royal College of Surgeons of Thailand.[อ้างเมื่อ 22 กันยายน 2566] จาก https://www.rcst.or.th/web-upload/filecenter/51/11-p.%20192-216.pdf

พีระ บูรณะกิจเจริญ.แนวทางการรักษาโรคความดันสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป.กรุงเทพ:สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย;2558

มานี รักษาเกียรติศักดิ์ , เบญจรัตน์ หยกอุบล, กำแหง วัชรักษะ, ขนิษฐา ไกรประสิทธิ์, ปาริชาต อภิเดชากุล. ตำราวิสัญญีพื้นฐานและหน่วยงานปฏิบัติ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2560.

วรภา สุวรรณจินดา,อังกาบ ปราการรัตน์.ตำราวิสัญญี(พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพ:กรุงเทพเวชสาร;2558.

วิมลรัตน์ ศรีราช, อักษร พูลนิติพร, เบญจรัตน์ หยกอุบล, สุรัชนา เลิศศิริโสภณ. ก้าวไกลวิสัญญี 4.0 เล่ม 2. กรุงเทพ : ธนาเพรสจำกัด ; 2562.

วิรัตน์ วศินวงศ์และคณะ.ตำราวิสัญญีวิทยาคลินิก.พิมพ์ครั้งที่ 2.หน่วยผลิตตำราคณะแพทย์ศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.สงขลา;2555.

สุปาณี เสนาดิสัย, วรรณภา ประไพพานิช. การพยาบาลพื้นฐาน ปรับปรุงครั้งที่ 1 . กรุงเทพ : จุดทองจำกัด ; 2560.

เอกภพ แสงอริยวนิช ,ศุภกร พิทักษ์การกุล ,รังสิมา บัวส้ม.ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2564 Hospital-Based Cancer Registry 2021.กรุงเทพ:กลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ;2565.[อ้างเมื่อ 20 กันยายน2566] จาก https://www.nci.go.th>cancer_record>cancer_rec1.

Arati Srivastava and Ashutosh Niranjan.Secret of safe laparoscopic surgery:Anesthesia and Surgical consideration.Journal of Minimal Access Surgery.2011 Oct-Dec;6(4):91-94

Brij Madhok,Kushan Nanayakkara,Kamal Mahawar.Safety consideration in laparoscopic surgery:A narrative review.World Journal of Gastrointestinal Endoscopy.2022 Jan 16;14(1):1-16

C.A.Maxwell-Armstong DM,M.H.Robinson DM,J.H.Scholefied.Laparoscopic colorectal cancer surgery.The American Journal of Surgery volume 179,Issue 6,June 2000,pages 500-507.

Paul Hayden,Bsc MRCP FRCA DICM FFICN,Sarah Cowman,FRCA.Anesthesia for laparoscopic surgery.Continuing Education in Anesthesia Critical Care&Pain,Volume 11,Issue 5,October 2011,page 177-180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

คชอาจ ว. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวในการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยวิธีส่องกล้อง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ : 2 กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 355–366. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/268697