ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา
คำสำคัญ:
อาการปวดหลังส่วนล่าง, เกษตรกร, ยางพาราบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่อาศัยอยู่ในตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 237 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 86.92 ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 57.80 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 80.59 รายได้ต่อเดือน อยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 48.10 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 77.22 ระยะเวลาที่ประกอบอาชีพปลูกยางพารา อยู่ในช่วง 6-10 ปี ร้อยละ 49.79 ระยะเวลาปกติที่ทำงานในสวนยางพาราอยู่ในช่วง 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 53.17 และ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 75.11 พฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.11 ระดับการศึกษาและความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
References
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการส่งออกตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงจาก: https://impexpth.oae.go.th/export.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก[อินเตอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงจาก: http://www.ldd.go.th/Agri-Map/Data/NE/npn.pdf
นภาพร เวชกามา และรวี หาญเผชิญ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารเกษตรพระวรุณ 2556; 10(2): 175-182.
กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสมรรถภาพของกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562; 8(2): 21-31.
Brage S, Sandanger I, Nygard JF. Emotional distress as a predictor for low back disability: A prospective 12-year population-based study. Spine 2007; 32(1): 269-274
Montgomery W, Sato M, Nagasaka Y, Vietri J. The economic and humanistic costs of chronic lower back pain in Japan. Clinicoeconomics and Outcomes Research 2017; 9: 361-371.
Social Security Office. The situation of experiencing danger or illness Due to work in the year 2015-2019 [Internet]. 2019. [cited 2023 May 20]. Available from: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/c00433eb3bc63a11720e488101b53d91.pdf.
Pransky G, Benjamin K, Hill-Fotouhi C, Fletcher KE, Himmelstein J, Katz JN. Work-related outcomes in occupational low back pain: a multidimensional analysis. Spine (Phila Pa1976) 2002; 27(8): 864-870.
Maniadakis N, Gray A. The economic burden of back pain in the UK. Pain 2000; 84: 95-103.
สุนิสา ชายเกลี้ยง กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และพรนภา ศุกรเวทย์ศิร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2563; 32(1): 82-94.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30: 607-610.
Likert R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology 1932; 140: 1-55.
Best JW. Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice- Hall Inc., 1981
จิราภรณ์ธรรมสโรช. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยปวดหลังที่มารับบริการที่โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 2548.
สุกัญญา อังสิริกุล น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(1): 39-50.
สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 2555.
Ozdemir H, Alper Z, Uncu Y, Bilgel N. Health literacy among adults: a study from Turkey. Health education research 2010; 25: 464-477.
กนกอร เจริญผล ฉันทนา จันทวงศ์ และยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559; 30(2): 64-80.
ชนิสรา สังฆะศรี ชญานนท์ พิมพบุตร นิธิ ปรัสรา และภคิน ไชยช่วย. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของคนงานทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559; 1(1): 81-98.