การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นันทิมา ไชยโภชน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพล

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis), ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (Septic shock)

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 รายตั้งแต่ระยะวิกฤติ ระยะดูแลต่อเนื่อง และระยะวางแผนจำหน่าย รวบรวมข้อมูล โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ11แบบแผนของกอร์ดอน เพื่อค้นหาปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ผลการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยจำนวน 2 ราย โดยกรณีที่1 เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี อาการสำคัญ ปัสสาวะไม่ออกเป็นมา 1 วัน ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน 3 วันก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยมีไข้สูงหนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด ปวดขาทั้ง 2ข้าง ถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง 1วันก่อนมารพ.ปัสสาวะไม่ออก ปวดขาทั้ง2ข้าง ปฏิเสธโรคประจำตัว กรณีที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 69 ปี ให้ประวัติว่า 2 เดือนก่อนมารพ.ผู้ป่วยมีแผลที่ข้อศอกซ้ายและท้องข้างขวารักษาที่คลินิกอาการไม่ดีขึ้น 2 วันก่อนมารพ.มีไข้สูง หายใจเหนื่อยหอบญาติจึงพามารพ. ผู้ป่วยรายที่ 1 รับการรักษานานกว่า เกิดจากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากกว่ามีอวัยวะล้มเหลวรุนแรง รักษาโดยให้ยาฆ่าเชื้อเป็นระยะเวลา 14 วัน ในขณะที่รายที่ 2 พบเชื้อ Numerous Pseudomonas aeruginosa มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

References

จุฬาลักษณ์ นุพอ, กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์,วรัตม์สุดา สมุทรทัย “การประเมิน NEWS (Nakornping early warning scores) ณ ห้องฉุกเฉินเพื่อทำนายอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ”วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2563 : 28-44

ดุสิต สถาวร และครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์. สมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย The Smart ICU. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด. หน้า 9.

ปรเมษฐ์ อินทร์สุข,เชษฐาฤทธิ์ บริบูรณ์. “Nurses’ Role in Management of Sepsis Following Surviving Sepsis Campaign Guidelines 2021 บทบาทของพยาบาลในการจัดการภาวะพิษเหตุติดเชื้อตามแนวปฏิบัติภาวะพิษเหตุติดเชื้อ 2021” Nursing Journal CMU Volume 49 No.2 April - June 2022 พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 49 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2565.376-389.

ทิฏฐิ ศรีวิสัย และวิมล อ่อนเส็ง. (2560). “ ภาวะช็อกจาการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน” วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 9(2), 152-162.

วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ. (2556). “การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต: แบบองค์รวม” กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์, 2556). หน้า 311-344.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤต. (2557). แนวทางปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock. Kidney International Supplement (2012) 2,4;doi:10.1038/kisup.2012.7

ธนรัตน์ พรศิริรัตน์, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และสุรัตน์ ทองอยู่. (2558). “ปัจจัยทำนายการเข้าสู่ภาวะช็อกจากการติดเชื้อในผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อ” วารสารสภาการพยาบาล (301), 72-85

นนทรัตน์ จำเริญวงศ์,สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์,ชยธิดา ไชยวงษ์.”การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด”วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธรณสุขภาคใต้ 2563;7:319-29

นิลปัทม์ พลเยี่ยม,ภูริกา สิงคลีประภา,มยุรา แสนสุข “การใช้ Six bundle sepsis protocol ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลกุมภวาปี” วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๒ ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๑.189-200

พัชรีย์ ไสยนิตย์.(2564). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 6(3). 20-26

Gyawali, B., Ramakrishma, K., and Dhamoon, A.S. (2019). Sepsis: The evaluation in definition, pathophysiology, andmanagement. SAGE Open Medicine (71: 1-13).

Gul,F., Arslantas, M.K., Cinel, I., andKumar, K. (2017). Changing Difinitions of Sepsis. Turk Anaesthesiol Reanim 45:129-138.

Parillo JE. Pathogenic mechanisms of septic shock. N Engl J Med 1993; 328: 1471-1477.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ไชยโภชน์ น. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 419–428. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269053