การพัฒนาโปรแกรมเยี่ยมบ้านในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกน้ำหนักตัวน้อย โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
โปรแกรมเยี่ยมบ้าน, สถานประกอบการส่งเสริมสุขภาพ, มารดาและทารกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็น การวิจัยและพัฒนา(Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพมารดาและทารกน้ำหนักตัวน้อย ศึกษาโปรแกรมเยี่ยมบ้านในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกน้ำหนักตัวน้อย และพัฒนาโปรแกรมเยี่ยมบ้านในการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกน้ำหนักตัวน้อย โรงพยาบาลกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มทดลองในระยะที่ 1 ระยะวิจัย จำนวน 33 คน และกลุ่มทดลองระยะที่ 2 ระยะพัฒนา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบประเมินการเยี่ยมบ้าน และแบบประเมินความพึงพอใจในพัฒนาโปรแกรมเยี่ยมบ้าน การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเยี่ยมบ้าน โดยใช้สถิติ Paired sample t–test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของโปรแกรมในระยะที่ 1 และ 2 หลังการทดลอง พบว่า ด้าน F: Fetal well being สุขภาพทารก, ด้าน S1 : Self-care การดูแลตนเอง, ด้าน S2: Surveys บ้านสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ และด้าน S3: Spiritual health จิตใจและจิต วิญญาณ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเฉลี่ยของคะแนนคะแนน หลังการทดลองระยะที่ 2 มากกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองระยะที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05
References
สถิติสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขพ.ศ. 2560 กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ นนทบุรี.กระทรวงสาธารณสุข 2560, ม.ป.ท.; (น.36)
สุจิมา ติลการยทรัพย์ นุชนาถ บุญมาศ นิศานาถ ถิระชัย (2565) ประสบการณ์ของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย, วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2565; 9(5): 123-135
ศิริพร มีหมู่ และจินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดกึ่งวิกฤต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 2560; 40: 21–30. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/96054/92993
Hanucharurnkul S, editor. Self-care: nursing science and art. 5th ed. Bangkok: VJ Printing; 2001. (in Thai)
Piasupan R, Thanattheeraku C. The effects of educative supportive program using VCD and handbook on caregivers’ caring behaviors for school age epilepsy. Journal of Nursing Science & Health 2017; 40: 11–21. (in Thai)
Siripoon P, Tangvoraphonkcha J. Effects of a supportive educative program on care behavior of beginning to end stage leukemic school age children’s dependent. Journal of Nursing Science & Health 2014; 37: 48–56. (in Thai)
พิม์ชนก บุญเฉลิม ทัศนี. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประสิทธิภาพการดูดนม, 2012: 30(4): 27-38. สืบค้นจาก https://ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol30/issue4/Pimchanok.pdf
Orem DE. Nursing: concepts of practice. 4th ed. St. Louis: Mosby Year Book; 1991.
ชนิตา แป๊ะสกุล คมเนตร โกณานนท์ และนันทนี พิทักษ์วานิชย์ได้ทำการศึกษา ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 2564; 27(2): 81-95. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/251749/173885