กรณีศึกษา : การพยาบาลและการระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

ผู้แต่ง

  • น้ำพอง เดชสูงเนิน พยาบาลวิชาชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลปากช่องนานา จังวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis), ช็อก, การระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

     กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลและการระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือกผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด เข้ามารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลปากช่องนานา ระหว่างวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2566 - 14 เมษายน พ.ศ. 2566 จำนวน 1 ราย

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงชาวกัมพูชา อายุ 42 ปี อาการสำคัญ มีเลือดออกทางช่องคลอด อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 10 ชั่วโมง การวินิจฉัย Septic shock due to septic abortion ได้รับการรักษาแก้ไขภาวะช็อก ด้วยการให้ยาต้านจุลชีพ , สารน้ำทดแทน , ยาตีบหลอดเลือด , เลือดและส่วนประกอบของเลือด และได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง ตัดรังไข่และท่อนำไข่ข้างซ้าย (Total abdominal hysterectomy with left salpingo - oophorectomy ) ได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (general anesthesia) และรับการรักษาพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม เป็นระยะเวลา 8 วัน จากการให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและระงับความรู้สึก โดยการวางแผนการพยาบาลทั้งในระยะก่อนผ่าตัดและระงับความรู้สึก ขณะผ่าตัดและระงับความรู้สึก หลังผ่าตัดและระงับความรู้สึก รวมทั้งการติดต่อประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อวางแผนดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

References

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.(2565). คู่มือแนวทางการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีภาวะ severe sepsis/ septic shock. สืบค้นจาก https://www2. si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/ sirirajknowledge/sepsis/32-37

จันจิรา กุยแก้ว.(2565). การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 7(2). 22-29

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. (2561). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10,16(2), 58-68. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/250426/170243

Ejig Temesgen Alemu,Abatneh Feleke Agegnehu , Mamaru Mollalign Temesgen. (2021). Perioperative management of adult surgical patients with septic shock in resource limiting setting, systematic review. International Journal of Surgery Open 29 (2021) 66-75. From https://doi.org/10.1016/j.ijso.2020.11.016

Andrea Carsetti , Eva Vitali , Lucia Pesaresi , Riccardo Antolini , Erika Casarotta , Elisa Damiani, Erica Adrario and Abele Donati1. (2023) .Anesthetic management of patients with sepsis/septic shock, Frontier10(2023), 1-6. From https://doi.org/10.3389/fmed.2023.1150124

Koichi Yuki , Naoka Murakmi . (2016). Sepsis Pathophysiology and Anesthetic Consideration. National Library of medication:2016(7). From https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4704087/

Deloya-Tomas Ernesto , Mondragon-Labelle Tania , Guerrero-Gutiérrez Manuel A, Lopez-Fermin Jorge , Perez-Nieto Orlando R , Carrion-Moya Jorge D.(2020). Critical Care Obstetrics and Gynecology : Considerations for Mechanical Ventilation in the Critically III Obstetric Patient :2020(30):1-8. From https://obstetrics.imedpub.com/considerations-for-mechanical-ventilation-in-the-critically-ill-obstetric-patient.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

เดชสูงเนิน น. (2023). กรณีศึกษา : การพยาบาลและการระงับความรู้สึกผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกทางหน้าท้อง ที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด . วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 275–284. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269135