การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรับยา : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด, ภาวะแทรกซ้อนจากการรับยาวัณโรคบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรับยา เปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคที่มีภาวะตับอักเสบจากการได้รับยาในงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ แบบแผนสุขภาพ พยาธิสภาพ และอาการแสดง การรักษา ปัญหาทางการพยาบาลและการวางแผนพยาบาล
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทยอายุ 46 ปี อาการสำคัญ เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัว ตาเหลือง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 วันหลังรับประทานยาวัณโรคได้ 10 วันได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary tuberculosis with drug induced hepatitis กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทยอายุ 67 ปี อาการสำคัญ เหนื่อยอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตัวตาเหลือง เบื่ออาหารหลังรับประทานยาวัณโรคได้ 1 สัปดาห์ได้รับการวินิจฉัยเป็น Pulmonary tuberculosis with drug induced hepatitis
References
World Health Organization. Annual Epidemiological, WHO Surveillance Report 2006. Geneve: World Health Organization, fromhttp://www.who.int/tb/publication/global_report/2006/pdf/full_report.pdf
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มีนาคม2564 จาก Website:https://tbcmthailand.ddc.moph. go.th
Ramappa V, Aithal GP. Hepatotoxicity Related to Anti-tuberculosis Drugs: Mechanisms and Management. J Clin Exp Hepatol. 2013 Mar;3(1):37–49.
วีระเดช สุวรรณลักษณ์.( 2560,30 สิงหาคม).วัณโรค สืบค้นจากhttp// www.haamor.com.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(2564) .แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2564.กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้าน วัณโรค พ.ศ. 2560-2564.(เพิ่มเติม พ.ศ. 2565).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
ปราณี ทู้ไพเราะ.คู่มือข้อวินิจฉัยการพยาบาล.ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:N P Press Limited Partnership;2566.
วิลาวัลย์ ทองเรือง.ภาวะพิษต่อตับจากยาต้านวัณโรค.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ ปีที่7 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม )พ.ศ.2555;น.197- 204
เพลินตา คำหลาย. การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) พ.ศ. 2563; 2563. น.162-173
ประเทือง ธราธรรุ่งเรือง.การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคปอด ในงานบริการผู้ป่วยนอก:กรณีศึกษาวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) พ.ศ. 2561;น.77-95