การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด กรณีศึกษา 2 ราย งานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ, การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่งานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โดยศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในระยะเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่งานการพยาบาลผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ จากการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ และการวางแผนพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล วางแผนการดูแลครอบคลุมจนถึงการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 47 ปี ไม่ทราบประวัติโรคประจำตัว ญาตินำส่งด้วยอาการแขนขาซ้ายอ่อนแรง พูดไม่ชัด ก่อนมา รพ. 3 ชม. ได้รับการวินิจฉัย Acute Ischemic Stroke มีความดันโลหิตสูงได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตทางหลอดเลือดดำก่อนให้ยาละลายลิ่มเลือด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอนโรงพยาบาล 4 วัน จำหน่ายกลับบ้านได้ รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 63 ปี ไม่ทราบประวัติโรคประจำตัว มาด้วยอาการปากเบี้ยว แขนขาซีกซ้ายอ่อนแรง ก่อนมารพ. 20 นาที แพทย์วินิจฉัย Acute Ischemic Stroke ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอนโรงพยาบาล 4 วัน จำหน่ายกลับบ้านได้
References
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์(Clinical Practice Guideline for Ischemic Stroke) พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2562.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองในระยะเฉียบพลัน.ที่มา http://www.healthcarethai.com .สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563.
งานเวชสถิติ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์. (2565). รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ปี 2563-2565.
พรภัทร ธรรมสโรธ. (2555). โรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ และคณะ( 2562) .แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองสำหรับทีมสุขภาพ เขตบริการที่ 7.ขอนแก่น :หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ปานศิริ ไชยรังสฤษดิ์. (2561). Acute Ischemic Stroke. ใน สมชาย พัฒนอางกุล, ประเจษฎ์ เรืองกาญจนเศรษฐ์, กานดิษฎ์ ประยงค์รัตน์, ชนปิติ สิริวรรณ, และพงศ์ธร ณรงค์ฤกษ์นาวิน (บรรณาธิการ), Review in Internal Medicine. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ ,และชวนพิศ ทำนอง .( 2559). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 9) .ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
วิจิตรา กุสุมภ์ และคณะ.(2556).การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบองค์รวม (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สหประชาพาณิชย์.
อนงค์ แย้มสว่าง.(2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 6(1) 14-18