รูปแบบการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านระบบส่งยาที่บ้านในตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ระบบส่งยาที่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยระบบส่งยาที่บ้าน และรูปแบบการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านระบบส่งยาที่บ้านใน ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีระยะเวลาการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2566 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้บริการส่งยาที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 983 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า หลังดำเนินการ Fasting blood sugar (FBS) ปกติ ร้อยละ 37.03 และ HemoglobinA1C (HbA1c) ร้อยละ 40.48 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มี Fasting blood sugar (FBS) น้อยกว่า 180 mg% (n = 886) Fasting blood sugar (FBS) ปกติ ร้อยละ 41.08 และ HemoglobinA1C (HbA1c) ร้อยละ 44.92 พฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านระบบส่งยาที่บ้านใน ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับเหมาะสมและการเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านระบบส่งยาที่บ้านใน ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังดำเนินการมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังผ่านระบบส่งยาที่บ้านใน ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ดีขึ้นกว่าก่อนดำเนินการ
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2565). แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. Online https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25650805113031AM_homeward.pdf
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี(พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ตจำกัด.
สุรศักดิ์ สุนทร ศรีสุดา งามขำ กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง บุญเตือน วัฒนกุล ศุทธินี วัฒนกูล. (2565). การประเมินผลระบบบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. รายงานวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
รุ่งทิวา หมื่นปา.(2564). ผลกระทบของการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในหน่วยบริการปฐมภูมิอำเภอเมืองลำปางในสถานการณ์โรคโควิด-19 ปี 2564. เภสัชกรรมคลินิก ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 ก.ย. - ธ.ค. 2564 113-23
John W. Best.(1981). Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc.
ณิชารีย์ ใจคำวง.(2558). พฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3(2). 173-184
คเชนทร์ ชนะชัย.(2565). รูปแบบการจ่ายยาแนวใหม่ที่บ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ช่วงการระบาดโรคติดเชื้อ COVID-19. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (ONLINE) ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (2022) 100 – 12
จารุมน ลัคนาวิวัฒน์ มยุรี ลัคนาศิโรรัตน์ ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์ ธีระยุทธ์ แซ่ฮ่อ.(2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประสานการดูแลจากโรงพยาบาลสู่สถานบริการปฐมภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(1). 56-66
ศูนย์จัดการความรู้ผู้ป่วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์.(2564). NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม online https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2016/ncds-non-communicable-diseases-symptoms-prevention