รูปแบบการลดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์
คำสำคัญ:
การลดภาวะแทรกซ้อน, มารดาและทารกหลังคลอดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทการให้บริการของงานการพยาบาลผู้คลอด และรูปแบบการลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มีระยะเวลาในการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรงานการพยาบาลผู้คลอดที่เกี่ยวข้องกับการลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกหลังคลอด งานการพยาบาลผู้คลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ก่อนดำเนินการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ในส่วนหลังดำเนินการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกหลังคลอด งานการพยาบาลผู้คลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ ก่อนและหลังดำเนินการ โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังดำเนินการมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกหลังคลอด งานการพยาบาลผู้คลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ มากกว่าก่อนการดำเนินการ
References
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ.(2554). การดูแลสตรีระยะหลังคลอด (puerperium care) ใน สูติศาสตร์ล้านนา https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/medical-student-5/1684/
ปราณีต คุณเครือ.(2564). ความต้องการการพยาบาล และการพยาบาลที่ได้รับของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอยู่ด้วยโดยเร็วหลังคลอด โรงพยาบาลหัวหิน. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 1(1) 49-57
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ICD-10 บทที่ 15: การตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอด. ICD-10-TM Online บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับประเทศไทย
คณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ. การดูแลและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 2558; 19(1): 113-134.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse, DJ, Spong CY. The puerperium. Williams Obstetrics. 23rd ed. New York: McGraw-Hill, 2010: 646-660.
ชัยรัตน์ คุณาวิกติกุล.(2541). ระยะหลังคลอด. ใน: ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ (ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์, 2541: 169-178.
Best, J.W. (1981). Research in Education.New Jersey : Prentice - Hall.
เอกชัย โควาวิสารัช สุธิต คุณประดิษฐ์ สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน บุญศรี จันทร์รัชชกูล ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ สมศรี พิทักษ์กิจรณกร.(2557). เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (Maternal and Fetal Medicine) http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/9b5/59b9e79b5acf1206850166.pdf
ยุทธพงศ์ วีรวัฒนตระกูล.(2559). สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
ศิริภรณ์ ปิ่นโพธิ์ สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ.(2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะตกเลือดระยะ 2-24 ชั่วโมงหลังคลอด แผนกสูติกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 วันที่ 25 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแกน 135-147