การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ปุญญิศา หล้าคำภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องผ่าตัด กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, การผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่ โดยคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจงจำนวน 2ราย ที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่ ในโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566

     ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 2 ราย ได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่ ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่เชิงกรานสองข้างและตัดไส้ติ่ง ผู้ป่วยรายที่ 1 ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 7 ชั่วโมง 16 นาที สูญเสียเลือดตลอดระยะเวลาการผ่าตัดจนเสร็จสิ้นจำนวน 2,000 มิลลิลิตร ระยะเวลานอนรักษาที่โรงพยาบาล 60 วัน เนื่องจากผู้ป่วยติดเชื้อ COVID 19 ผล PCR detected วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ได้รับการรักษาพยาบาลจนพ้นภาวะวิกฤติและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ผู้ป่วยรายที่ 2 ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 8 ชั่วโมง 50 นาทีสูญเสียเลือดตลอดระยะเวลาการผ่าตัดจนเสร็จสิ้นจำนวน 2,560 มิลลิลิตร ได้รับการรักษาพยาบาลจนพ้นภาวะวิกฤติและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ 25 เมษายน 2566  จากกรณีศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าพยาบาลห้องผ่าตัดจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะและสมรรถนะเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วย

References

Wachira Kochakarn. Perioperative complications Urinary Radical Cystectomy Bladder Cancer รามาธิบดีเวชสาร. Vol.37 No.3 (2014): July-September.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและรักษาโรค มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ. บริษัทโฆษิตการพิมพ์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2563.

เจริญ ลีนานุพันธ์. มะเร็งในศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ. สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะ(ประเทศไทย). ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2543.

Rafnsson V, Sulem P. Cancer incidence among marine angineers, a population- based study (Iceland). Cancer Cause Control. 2003.

รำแพน พรเทพเกษมสันต์. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. บริษัทบูรพาสาส์น (1991) จำกัด: 2549.

เกล็ดแก้ว ด่านวิวัฒน์. มหกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฉบับย่อ). บริษัทบุ๊คเน็ท จำกัด, 2547.

กันยา ออประเสริฐ. กลยุทธ์ในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย, 2543.

Blandy J, Fowler C. Urology. 2nd ed. Victoria :Blackwell Science Ltd., 1996.

Greene FL, Page DL, Fleming ID, Fritz A, Balch CM, Haller DG et al: AJCC Cancer Staging Manual, 6th ed. New York: Springer-Verlag 2002.

พูนทรัพย์ โสภารัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537.

พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. ระบบขับถ่ายปัสสาวะสำหรับพยาบาล. บริษัทบุญศิริการพิมพ์ จำกัด, 2541.

เรณู อาจสาลี. การพยาบาลทางห้องผ่าตัด. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 2, 2540.

นิยา สออารีย์. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่มีความเจ็บปวด. สงขลา: แมกซ์มีเดีย วายทูเค เพลส. 2546.

สมพันธ์ หิญชิระนันท์ และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยทางยูโรวิทยา. เอชเอนการพิมพ์, 2527.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

หล้าคำภา ป. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะออกทั้งหมดและสร้างกระเพาะปัสสาวะใหม่ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 722–730. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269573