รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • งามตา บุญนอก

คำสำคัญ:

การดูแลหญิงตั้งครรภ์, การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ของหญิงตั้งครรภ์  และศึกษารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีระยะเวลาในการศึกษาระหว่าง เดือน ตุลาคม 2566 ถึง ธันวาคม 2566 รวม 3 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 46 ราย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และเวชระบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และDependent t – test

     ผลการศึกษาพบว่า หลังดำเนินงาน พฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ของหญิงตั้งครรภ์  ในโรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ความเข้าใจในการเฝ้าระวังอาการที่ต้องพบแพทย์ ของหญิงตั้งครรภ์  โรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู หลังดำเนินงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดและการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังอาการที่ต้องพบแพทย์ ของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ก่อนและหลังการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานดีกว่าก่อนการดำเนินงาน

References

Cunningham, F.G., Leveno, K.J., Bloom, S.L., Hauth, J.C., Rouse, D.J. and Spong, C.Y. (2010) Parturition. In: Cunningham, F.G., Leveno, K.J., Bloom, S.L., Hauth, J.C., Rouse, D.J. and Spong, C.Y., Eds., Williams Obstetrics, 23rd Edition, McGraw-Hill, New York, 143.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ ศิริภรณ์ เหมะธุลิน พิมลพรรณ อันสุข พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน.(2563). การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: บทบาทพยาบาล ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(2) 238-45

กระทรวงสาธารณสุข.(2559). สถิติกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข, 2560.

John W. Best, Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc.,

กรรณิกา เพ็ชรักษ์ อุตม์ชญาน์ อินทเรือง ฝนทอง จิตจำนง (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ในมารดาหลังคลอด วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 87 – 100

ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, กาญจนา สมบัติศิรินันท์.(2559). ผลของโปรแกรมเสริมสร้าง พลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอด ก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรก เกิดน้ำหนักน้อย. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31: 67-82.

พรรณทิพา บัวคล้าย, ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, ทยุตา อินทร์แก้ว.(2562). ผลของโปรแกรมเสริมพลังอํานาจต่อความรู้ การรับรู้พลังอำนาจในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิง. วารสาร การพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา 2562; 20: 28-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

บุญนอก ง. (2023). รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 788–794. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269606