ผลของการรับบริการตามแนวทางการให้บริการส่งยาที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ คนหาญ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การให้บริการส่งยาที่บ้าน, ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์และการรับบริการตามแนวทางการให้บริการส่งยาที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 รวม 12 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับบริการตามแนวทางการให้บริการส่งยาที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 983 คน โดยเกณฑ์การรับเข้าศึกษา (Inclusion criteria) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test

     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการดำเนินงาน ข้อมูล Fasting blood sugar (FBS) และ HemoglobinA1C (HbA1c) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ รับบริการแบบเดิม (ปี 2566) พบว่า Fasting blood sugar (FBS) ปกติ ร้อยละ 37.03 และ HemoglobinA1C (HbA1c) ร้อยละ 40.48 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มี Fasting blood sugar (FBS) น้อยกว่า 180 mg% (n = 886) Fasting blood sugar (FBS) ปกติ ร้อยละ 41.08 และ HemoglobinA1C (HbA1c) ร้อยละ 44.92 และ Fasting blood sugar (FBS) และ HemoglobinA1C (HbA1c) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปี 2566) กับการรับบริการแบบเดิม (ปี 2565) มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย Fasting blood sugar (FBS) และ HemoglobinA1C (HbA1c) ลดลง

References

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จํากัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สู้ โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตนเองสำหรับประชาชน. (2563) .[ อินเทอร์เน็ต ] . สืบ ค้นจาก :https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/img/infographic/info_m_2 8 0 4 6 3 .pdf

พรขวัญ ตัณฑ์จิตานนท์.(2566) ผลของระบบจัดส่งยาที่บ้านโดยไม่พบแพทย์และระบบรับยาโดยพบแพทย์ ที่สถานพยาบาลต่อค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในหน่วยบริการปฐมภูมิ. พุทธชินราชเวชสาร ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 116-25

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์, จุรีพร คงประเสริฐ.(2563). คู่มือการจัดการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). นนทบุรี: กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559) หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38403&deptcode=brc&news_views=2606

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

คนหาญ ก. (2023). ผลของการรับบริการตามแนวทางการให้บริการส่งยาที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 815–821. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269774