การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ โดยเลือกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามะเร็งไทรอยด์ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เดือนมกราคม - มิถุนายน 2566 จำนวน 2 ราย
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งไทรอยด์ชนิดตัดออกทั้งหมด (Total Thyroidectomy ) ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดหลังผ่าตัด ได้แก่ แผลติดเชื้อ สายเสียงไม่ทำงาน ทำให้มีเสียงแหบ สำลัก หากตัดถูกต่อม parathyroid ก็จะมีแคลเซียมในเลือดต่ำหรือมีเลือดออกใต้ผิวหนัง คอบวม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ผู้ป่วย หายใจหอบ เหนื่อย เสียงหายใจผิดปกติ (Stridor) ซึ่งการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะทำให้สามารถแก้ไขภาวะฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจจะเกิดได้ ดังนั้นบทบาทสำคัญของพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดจะต้องมีความรู้ มีความเข้าใจ ทักษะ ประสบการณ์ ประเมินและคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ
References
กนกวุฒิ อนันต์สุขบรรณ. อุบัติการณ์ของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2558:3:192-201.
ธนิต วัชรพุกก์ และ คนอื่น 1 ตำราศัลยศาสตร์ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2559 : 246-264.
ชลศณีย์ คล้ายทอง. มะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ และ คนอื่น 1 (บรรณาธิการ). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์. กรุงเทพมหานคร: โฆษิตการพิมพ์; 2558.
โรงพยาบาลพญาไท , มะเร็งไทรอยด์ ;2565. https://www.phyathai.com/th/article/1385
Tongol MC, Mirasol R. Incidence and risk factors for post-thyroidectomyhypocalcemia. JAFES 2016; 1: 30-36.