การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ ชานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งปอด, ยาเคมีบำบัด, ภาวะภูมิไวเกิน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยมะเร็งปอด2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงรายกรณีที่ได้รับยาเคมีบำบัด งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ศึกษาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึงพฤศจิกายน 2566 โดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย นำมาวิเคราะห์ตามกระบวนการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผนการพยาบาลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน (Gibson) นำสู่ปฏิบัติการพยาบาล ประเมิน สรุปและประเมินผลลัพธ์

     ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่1 สูตร Paclitaxel คู่กับ Carboplatin ให้ครั้งแรกได้รับการเตรียมความพร้อมในการรับยา ขณะรับยาผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติ หลังรับยามีผื่นแดงตามตัว 3 วันหลังจากนั้นผื่นยุบลง ชาตามมือเท้าเล็กน้อย grade 1 ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน เริ่มรับยารอบที่สอง  หลังรับยาหลังรับยาประมาณ 10 นาที ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก มีภาวะ Hypersensitivity grade 2 แพทย์พิจารณาให้หยุดยา จึงเปลี่ยนสูตรยาเป็น Gemcitabine คู่กับ Carboplatin ไม่อาการ Hypersensitivity ไอลดลง รับประทานอาหารได้ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน กรณีศึกษารายที่ 2 สูตรplan Paclitaxel คู่กับ Carboplatin 6 รอบไม่มีภาวะ Hypersensitivity หลังรับยา Increase Toxicity peripheral Neuropathy grade 3 หกล้ม ปวดขาและสะโพกก่อนมาพบแพทย์ ขอหยุดยา CMT ส่งปรึกษาศัลยกรรมกระดูกและข้อ ผู้ป่วยขอไปรักษาที่รพ.กาฬสินธุ์ กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย อายุใกล้เคียงกัน ได้รับสูตรยาเหมือนกันหลังให้มีภาวะ Hypersensitivity แต่อาการข้างเคียงต่างกัน ได้การดูแลอย่างปลอดภัย ทำรับข้อมูลที่ครบถ้วนครอบคลุมและเป็นองค์รวม

References

Lenz HJ.(2007). Management and preparedness for infusion and hypersensitivity reactions.Oncologist,12(5), 601-9. Review

Wilkes G.(2008).Managing drug infusion reactions: focus on cetuximab monoclonal antibody therapy.Clinical Journal Oncology Nursing,12(3):530-2.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2565). หนังสือสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย (Cancer in Thailand) ฉบับที่สิบ. (2016 – 2018). กรุงเทพฯ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

กรมการแพทย์. (2565). สื่อความรู้เรื่องโรคมะเร็งปอด. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข.

ศิริอร สินธุ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาการพิมพ์.

สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. (2561). บทบาทพยาบาลในการจัดการภาวะภูมิไวเกิน และปฏิกิริยาจากการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ. วารสารโรคมะเร็ง, 38(1), 29 - 41.

อัญชลี อ้นแก้ว และคณะ. (2563). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดต่อการเกิดภาวะภูมิไวเกิน หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลอุดรธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน”, 737 – 744.

ก่อเกียรติ กังวานทัศน์ และคณะ. (2566). Short Note in Clinical Oncology: A case - base Approach. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็ง. ขอนแก่น : กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โรงพยาบาลขอนแก่น.

ก่อเกียรติ กังวานทัศน์และคณะ. (2565). Short Note in Clinical Oncology: Common Cancer Management. ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุพัตตรา จานคำภา และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภูมิไวเกินในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(3), 43 – 54.

อรอมล มาลีหวล และคณะ. (2562.) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภูมิไวเกินในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด Paclitaxel. วารสารกรมการแพทย์ 2016 Jul., 41(4), 105 – 117.

อัจฉราภรณ์ ม่วงมุลตรี และศิรินทรา โคตะโน. (2563.) ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อป้องกันภาวะภูมิไวเกินจากการได้รับยาเคมีบำบัด แผนกผู้ป่วยนอกหน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(2), 115 – 122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ชานนท์ จ. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 906–913. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269794