การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • หนูเพียร ชาทองยศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, มะเร็งตับ, การให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง, รังสีร่วมรักษา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง แบบเฉพาะเจาะจงรายกรณี ด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา ในผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง โรงพยาบาลขอนแก่น ศึกษาในช่วงมิถุนายน 2565  ถึง ตุลาคม 2566   จำนวน 2 ราย โดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน เก็บรวบรวมข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา และการพยาบาลจากเวชระเบียน  นำมาสู่กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ มาวิเคราะห์ กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล วางแผนการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ประเมินและสรุปผล

     ผลการศึกษา : กรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย  ได้รับการรักษาด้วยTACE กรณีศึกษารายที่1 ได้รับการเตรียมพร้อมก่อนการรักษา การดูแลรักษาภาวะPlatelet ต่ำ มีภาวะแทรกซ้อนขณะตรวจรักษา คือภาวะ Bradycardia หลังการตรวจรักษา มีความเสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ใช้เวลาตรวจรักษา 45 นาที รวมระยะนอนโรงพยาบาล 4 วัน กรณีศึกษารายที่2 ได้รับการเตรียมพร้อมก่อนการรักษา  HCTต่ำ และPlateletต่ำ มีภาวะแทรกซ้อนขณะตรวจรักษา ภาวะ Bradycardia  หลังการตรวจรักษา มีความเสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ มีhematoma เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร เสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังตรวจรักษา จากการทำหัตถการและภูมิต้านทานต่ำจากยาเคมีบำบัด ใช้เวลาในการตรวจรักษ 1 ชั่วโมง 45 นาที รวมระยะนอนโรงพยาบาล 5 วัน กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย

References

มนต์ มีแก้ว .ประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งตับระยะแรกที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยวิธี Radiofrequency Ablation (RFA) และ Transarterial Chemoembolization (TACE) ในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี วารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2561 หน้า69-73

มธุริน มาลีหวล', สุพจน์ คำสะอาด*, พงศธร ศุภอรรถกร. อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาใโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(1) Srinagarind Med J 2022; 37(1)

Worldwide cancer research fund international. [online]. มธุริน2018 [Cited January 20, 2020]. Available from https://www.wcrf.org/dietandcancer/cancertrends/world-wide-cancer-data.

Philips CA, Rajesh S, Nair DC, Ahamed R,Abduljaleel JK, Augustine P. HepatocellularCarcinoma in 2021: An Exhaustive Update.Cureus. 2021;13(11): e19274. Published 2021 Nov 5.doi:10.7759/cureus.19274

Poon RTP, Fan ST, Tsang F, Wong J. Locoregional therapies for hepatocellular carcinoma: A critical review fromthe surgeon's perspective. Ann Surg 2002;235:466-86

ระวิศักดิ์ จันทร์วาสน์/ สุพัตรารักเอียด /วิษณุ ปานจันทร์/ อาคม ชัยวีระวัฒนะ/วีรวุฒิ อิ่มสำราญ 2559

แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพ: บ.โฆษิตการพิมพ์ จำกัด

อติญา เฟื่องสุวรรณ',ศิริพงษ์เสถียร , รุจิรา พัฒนวณิชกุล', ชนิสา โชติพานิช เครื่องเอกชเรย์หลอดเลือดระนาบเดียวและเอกชเรย์คอมพิวเตอร์ระบบไฮบริด เพื่อใช้ในการตรวจระบบหลอตเลือดและการทำหัตถการของรังสีร่วมรักษาในประเทศไทย The journal Chulabhorn Royal Acad. 2023; 5(3): 133-143

Lionberg A, Nijhawan K, Navuluri R, et al.Hybrid angiography-CT for transarterialradioembolization: a pictorial essay.Abdom Radiol (NY). 2021;46 (6):2850-2854.doi:10.1007/s00261-020-02914-8

มุกดา นาผล ,อภิชาติ โสภาพรม ,ศุภนิต หงษ์ชัย. การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง Vol.30 No.3 September - December 2022 Udonthani Hospital Medical Joumal :319-328.

Doyle BJ, Konz BA, Lennon RJ, Bresnahan JF, Rihal CS, Ting HH. Ambulation 1 hour after diagnostic cardiac catheterization: a prospective study of 1009 procedures. Mayo Clin Proc 2006;81:1537-40.

สุธิสา เต็มทับ, กิตติกร นิลมานัต, รุ่งทิพย์ อุดมวิเศษสันต์' และ กีรติ หงส์สกุล. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดระดับความปวดหลังและป้องกันภาวะเลือดออกบริเวณแผลและจ้ำเลือดใต้ผิวหนังในผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดงSouthern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2022; 9(2) 54-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

ชาทองยศ ห. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตับที่เข้ารับการตรวจรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 914–922. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269795