การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รัชดา จึงธนวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยศึกษาในผู้ป่วยชายไทยอายุ 46 ปี เป็นโรคไตวายเรื้อรังประมาณ 10 ปีทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้ง/สัปดาห์ที่โรงพยาบาลอ่างทอง เข้ารับการรักษาวันที่ 7 กันยายน 2566 ด้วยอาการสำคัญ ไม่รู้สึกตัว เหนื่อย แน่นหน้าอก 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล ใส่ท่อช่วยหายใจและทำการฟื้นคืนชีพประมาณ  3 นาที วินิจฉัย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด ST ไม่ยกที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

     ผลการศึกษา: หลังย้ายเข้าหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ส่งฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ฟอกเลือดแบบยืดระยะเวลา (SLED) ระยะก่อนฟอกเลือด มีภาวะพร่องออกซิเจน มีความกลัว/กังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยรุนแรง ระยะฟอกเลือด เสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด เสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เสี่ยงการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ ระยะหลังฟอกเลือด นาน 6 ชั่วโมง เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกสายสวนหลอดเลือดดำหลังแทงเส้นใหม่ มีภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ ได้รับการฟอกเลือดจำนวน 3 ครั้ง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลจนอาการดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายวันที่ 16 กันยายน 2566 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาล 9 วัน

References

ทิพย์สุดา พรหมดนตรี, จินตนา ดำเกลี้ยง และวิภา แซ่เซี้ย. (2566). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด. วารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ; 43(1): 27-39.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.(2557). ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. โรงพิมพ์ เดือนตุลา

สุรพันธ์ สิทธิสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุง ปี 2557. ศรีเมืองการพิมพ์.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2560). Dialysis Review for Nurse 2017. กรุงเทพเวชสาร.

อาคม นงนุช, ขจร ตีรณธนากุล, คงกระพัน ศรีสุวรรณ, วุฒิเดช โอภาสเจริญสุข. (2564). Essentials in Hemodialysis. พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

World Health Organization. (2022). Cardiovascular diseases (CVDs). Geneva: World Health Organization; 2019. Available from: https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds).

Wayunah W. (2022). Self–Efficacy and Compliance Fluid Intake Restriction as a Determinant of The Interdialytic Weight Gain (IDWG) Level. Journal of Nursing Care; 5(1): 21–29.

Ying Liu et.al. (2020). The profile of Timing Dialysis Initiation in Patients with End–stage renal Disease in China: A Cohort Study. Kidney Blood Pressure Research; 45: 180– 93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

จึงธนวงศ์ ร. (2023). การพยาบาลผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน : กรณีศึกษา. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 8(4), 938–945. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/269801