การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดกำเริบ: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, โรคหอบหืดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดกำเริบเด็กชายไทยอายุ 1 ปี 20 วัน มาตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอกที่คลินิกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช วันที่ 1 มิถุนายน 2566 ด้วยอาการ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก 4 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล ตรวจ ATK จากที่บ้าน negative ปอดมี wheezing sound both lung
ผลการศึกษา: ระหว่างดูแลให้การพยาบาล 3 ระยะ ระยะก่อนตรวจ ไม่สุขสบายมีไข้ เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน หลังการคัดกรองรายงานแพทย์ ได้รับการตรวจรักษาทันที ขณะตรวจ แพทย์วินิจฉัย Acute asthmatic attack มีโอกาสเกิดภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น บิดาและมารดาของผู้ป่วยมีความวิตกกังวล ผู้ป่วยได้รับการดูแลให้พ่นยา Ventolin1NB+NSS to4ml พิจารณาให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ภายหลังพ่นยา ดูแลให้ออกซิเจนและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง นำส่งหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมอย่างปลอดภัย เข้ารับการรักษานาน 5 วันจำหน่ายกลับบ้านวันที่ 7 มิถุนายน 2566
References
ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย และคณะ. (2564). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยเด็ก (ฉบับย่อ) พ.ศ. 2563-2564.
วัชรา บุญสวัสดิ์. (2561). โรคหืด. : https://haamor.com.
สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์. (2561). รายงานการวิจัยผลลัพธ์ทางคลินิกทางคุณภาพชีวิตและทางเศรษฐศาสตร์ของการดูแลระยะยาวในผู้ป่วยเด็กโรคหืดของประเทศไทย. http://www.damus. in.th/damus/files/83_ 20120903171730_ final%20 report %20Asthma.
อารี ศาสตรวาหา. (2564). กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา; 6(3): 16-19
Liu AH, Covar RA, Spahn JD, Sicherer SH. (2016). Childhood Asthma. In: Kliegmen RM, Stanton BF, St Geme JW, Schor NF, Behrman RE, editors. Nelson’s Textbook of Pediatrics. 20th ed. Philadelphia: Elsevier&Saunders ; 2016 :1095-1115.