การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีการแตกของท่อนำไข่ร่วมกับมีภาวะช็อก และมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ตั้งครรภ์นอกมดลูก, ภาวะช็อก, ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาล หญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีการแตกของท่อนำไข่ร่วมกับมีภาวะช็อก และมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 25 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านหมี่ วันที่ 6 มีนาคม 2566 ด้วยอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา มีเลือดออกทางช่องคลอด 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ผลการศึกษา: การตรวจการตั้งครรภ์ ผล Positive ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบ free fluid in caldesac แพทย์วินิจฉัย ตั้งครรภ์นอกมดลูก ผู้ป่วยมีภาวะช็อก ระดับความเข้มข้นของเลือด 23% ได้รับการผ่าตัด Explored laparotomy with Right Sulpingectomy หลังผ่าตัดได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ เสี่ยงต่อภาวะช็อกซ้ำ มีภาวะซีด ให้สารน้ำ เลือดตามแผนการรักษา บริหารยาเพื่อแก้ไขภาวะช็อกจนปลอดภัย ผู้ป่วยมีอาการปวดแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ให้การบำบัดความปวดและดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี ไม่พบการติดเชื้อ มีอาการดีขึ้นตามลาดับถอดท่อหายใจออกได้หลังผ่าตัด 1 วัน ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อก จำหน่ายผู้ป่วยได้ในวันที่ 11 มีนาคม 2566 รวมระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาล จำนวน 5 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการจำหน่าย
References
ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, กิตติภัต เจริญขวัญ, อรวี ฉินทกานันท์. (2559). ครรภ์นอกมดลูก. ในธีระ ทองสง, บรรณาธิการ.นรีเวชวิทยา ฉบับบอร์ด. พิมพ์ครั้งที 4.ลักษมีรุ่งจำกัด.
นุชจรินทร์ ทองโรจน์. (2563). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(2), 128-141.
ปริญญา ราชกิจ. (2560). การตั้งครรภ์นอกมดลูกในโรงพยาบาลลำปลายมาศ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ -สุรินทร์-บุรีรัมย์, 32 (1), 33-42
เพ็ญศรี ละออ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อกจากการเสียเลือด. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2),172-186.
วิทยา ถิฐาพันธ์. (2559). ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์. บริษัท พี .เอ.ลีฟวิ่ง จากัด.
Walker JJ. (2017). Best Practice & Research Clinical Obstetrics & Gynaecology, 43(1), 76-86.