กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วิชิตา ถิ่นวัน โรงพยาบาลเขาวง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างทักษะพฤติกรรม, ผู้เลี้ยงดูหลัก, พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลัก ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูล ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เลี้ยงดูหลักและเด็กอายุ 3 – 5 ปี จำนวน 45 คู่ โดยใช้เกณฑ์คัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาศึกษา เดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ DSPM ,แบบวัดทักษะพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดูหลัก และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test
     ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการเสริมสร้างทักษะพฤติกรรมผู้เลี้ยงดูหลักในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการ จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมครั้งที่ 1 : การสร้างความพร้อม ,กิจกรรมที่ 2 : การสร้างสายใย ,กิจกรรมที่ 3 : การสร้างวินัย ,กิจกรรมที่ 4 : การสร้างเด็กเก่ง 1 และกิจกรรมที่ 5 : สร้างเด็กเก่ง 2 เด็กที่เข้าร่วมกระบวนการ เพศชาย ร้อยละ 51.11 เพศหญิง ร้อยละ 48.89 อายุเฉลี่ย 3.92 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะเสี่ยงจากการคลอด มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม ร้อยละ 66.67 รองลงมา คือ ด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 62.22 และด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 13.33 หลังเข้าร่วมกระบวนการกลับมามีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100 ,ทักษะพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดูหลัก มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ 25.31 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 (95% ,p<.001) และความฉลาดทางอารมณ์ ทุกด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ร้อยละ 91.11 , 91.11 และ 100 ตามลำดับ

References

สำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570. กรุงเทพฯ. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด ; 2564.

วารีทิพย์ พึ่งพันธ์ ,วราภรณ์ จิตอารี และภาพิมล บุญอิ้ง. แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน. นนทบุรี. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ; 2565.

จันทร์อาภา สุขทัพภ์. การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ. สถาบันราชานุกูล ; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ระบบฐานข้อมูลกลางกระทรวงสาธารณสุข HDC : Health Data Center ; 2565.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2569). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ ; 2560.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. คู่มือประกอบการจัดกิจกรรม Smart Kids Area 7 : SA. ขอนแก่น ; 2566.

สราญจิต อินศร , ยศสยา อ่อนคำ และฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3 – 5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564 ; 10 : 143 – 60.

วิมลพรรณ สังข์สกุล ,ปัทมา ผ่องศิริ ,จรูญศรี มีหนองหว้า และวิภาวี พลแก้ว. สถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มุ่งเน้นผลลัพธ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2564 ; 1 : 1 – 18

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 2559 ; 11 : 99-109.

จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2562 ; 1 : 70 – 85.

เบ็ญจมาศ สลิลปราโมทย์. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566 ; 3 : 114 - 25.

วลัยพร ศรีรัตน์ ,สุขุม เฉลยทรัพย์ และชนะศึก นิชานนท์ (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม 2564

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29