ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชลาวัล สาระพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกุมภวาปี อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และประสิทธิผลของการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากร จำนวน 11 คน และผู้ป่วยผู้ป่วยหนักศัลยกรรม จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลและข้อมูลผู้ป่วย CVI= 1, แบบสอบถามความรู้ KR-20= 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
     ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยใช้วงล้อ PDSA ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การออกแบบ 3) การเรียนรู้ 4) การนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ 5) การนิเทศ ผลการพัฒนาได้คู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาล มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (assessment of readiness to wean) 2) การทดสอบการหายใจเอง (spontaneous breathing trial) 3) การถอดท่อช่วยหายใจ (extubation) หลังพัฒนาส่วนใหญ่มีบุคลากรมีความรู้ในระดับดีเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18.2 เป็นร้อยละ 90.9 ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติการพยาบาลการหย่าเครื่องช่วยหายใจในระดับสูงเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 72.7 เป็น ร้อยละ 90.9 มีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}= 4.48, S.D.=0.71)  ผลลัพธ์ในผู้ป่วย พบว่า หลังพัฒนา เสียชีวิตลดลง จากร้อยละ 31.6 เป็นร้อยละ 10.5 ไม่มีภาวะช็อคร่วมกับหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) ลดลงจากร้อยละ 78.9 เป็นร้อยละ 89.5, ภาวะ septic shock ลดลงจากร้อยละ 68.4 เป็นร้อยละ 63.2

References

Knebel AR, Shekleton ME, Burns S, Clochesy JM, Hanneman SK, weaning from mechanical ventilation support: refinement of a model. American journal of critical care 1998; 7(2): 149 – 152.

MacIntyre NR, Cook DJ, Ely EW, Jr, Epstein SK, Fink JB, Heffner JE, Hess D, Hubmayer RD, Scheinhorn DJ. Evidence-based guidelines for weaning and discontinuing ventilatory support: a collective task force facilitated by the American College of Chest Physicians; the American Association for Respiratory Care; and the American College of Critical Care Medicine. Chest. 2001;120(6 Suppl):375S–395S. doi: 10.1378/chest.120.6_suppl.375S.

อนันต์ วัฒนธรรม. Mechanical ventilator, ในประสาท เหล่าถาวร ,กฤษฎา ดวงอุไรและวิชัย ประยูรวัฒน์ (บรรณาธิการ), อายุรศาสตร์ในเวชปฏิบัติ: รุ่งศิลป์การพิมพ์; 2543.

สุมาลี เกียรติบุญศรี. การหย่าเครื่องช่วยหายใจ.ในสุมาลี เกียรติบุญศรี (บรรณาธิการ) การดูแลรักษาโรคระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2560.

ชัยวัฒน์ บำรุงกิจ. ประสิทธิภาพของการหย่าเครื่องช่วยหายใจโดยการใช้วิธีปฏิบัติตามเกณฑ์ที่วางไว้ในหออภิบาลแผนกอายุรกรรมของศูนย์การแพทย์ตติยภูมิ. Journal Med Assoc Thai 2005(1): 52-57.

Norton, L. The role of the specialist nurse in weaning patients from mechanical ventilation and development of nurse-led approach. Nursing Critical Care 2000(5): 220-270.

โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. สรุปรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรงพยาบาลกุมภวาปี. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 12 กันยายน 2566]. จาก https://kumpawapihospital.go.th.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). [อินเตอร์เน็ต]. 2550. [เข้าถึงเมื่อ 31 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sirindhornhosp.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ, พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยาคม; 2550.

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator associated Pneumonia). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2552.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In Cutcliffe JR, Butterworth T, Proctor B. (Eds). Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge, 2001.

Driscoll J. Practising clinical supervision a reflective approach for healthcare professionals. [Internet]. 2007. [Cited 2023 September 10]. Available from: https://play. google.com/books

Roy C, Andrews H.A. The roy’s Adaptation Model. 2nd ed. Stamford: Appleton & Lange; 2001.

Sohier M. Weheida, Eman S. Omran, Amal S. Taha. Effect of Designed Bundle Protocol about Ventilator Associated Pneumonia on Nurses’ Performance, Compliance, and Patient Outcomes. [Internet]. 2022. [Cited 2023 July 21]. Available from: https://www.ajol.info/index.php/ebnr/article/view/233113

Leung CH.C, Lee A, Arabi Y.M, et al. Mechanical Ventilation Discontinuation Practices in Asia: A Multinational Survey. Annals ATS. 2021; 18(8): 1352-59.

ปองนุช บุญยไพศาลเจริญ. สาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยปอดอักเสบในโรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2019;28(1): 43-54.

ศรัญญา จุฬารี, จันทร์ทิรา เจียรณัย, รังสิมา ครอสูงเนิน. ความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์ 2565; 12(1): 149-63.

Yamagata A, Ito A, Nakanishi Y, Ishida T. Prognostic factors in nursing and healthcare-associated pneumonia. Journal of Infection and Chemotherapy 2020; 26(6): 563-69.

Buterakos R, Jenkins PM, Cranford J, et al. An in-depth look at ventilator-associated pneumonia in trauma patients and efforts to increase bundle compliance, education and documentation in a surgical trauma critical care unit. American Journal of Infection Control. 2022; 50(12): 1333-38.

Efstathiou N, Vanderspank-Wright B, Vandyk A, et al. Terminal withdrawal of mechanical ventilation in adult intensive care units: A systematic review and narrative synthesis of perceptions, experiences and practices. Palliat Med. 2020; 34(9): 1140-64.

วิทวัส ศิริยงค์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวในผู้ป่วยปอดอักเสบที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2019; 33(1): 141-54.

Souza WCC de, Cruz I. Nursing Evidence-based practice guidelines for mechanical ventilation weaning response in ICU - Systematic literature review. Journal of Specialized Nursing Care. [Internet]. 2020.[Cited 2023 September 18]. Available from: http://www.jsncare.uff.br/index.php/jsncare/article/view/3310

วิจิตรา กุสุมภ์. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะ วิกฤต: แบบองค์รวม. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชา พาณิชย.

ปนัดดา เสือหรุ่น,อรพรรณ โตสิงห์,สุพรดนัยดุษฏีกุล และอรอุมา ชัยวัฒน์. (2558). ศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจนานในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องระยะวิกฤติ. วารสารสภาการพยาบาล. 30(4):107-120.

สาวรีย์ ปัญเศษ, อำภาพร นามวงศ์พรหมและ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2555). ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล เกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาล พระนั่งเกล้า.วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 30(2):131–139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29