ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลในระยะคลอดต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและความพึงพอใจของผู้คลอดโรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ หาพรหม พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรม, การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด, พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลในระยะคลอดที่ปากมดลูกเปิด โดยใช้ขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการของเคมิสและแม็คแทกการ์ท (Kemmis and McTaggart, 1988) ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Plan) 2) การลงมือปฏิบัติและการสังเกต (Act & Observe) และ 3) การสะท้อนคิด (Reflect) ลิ4) การปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน (Revised plan) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้คลอดที่มาคลอด ห้องคลอด โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนธันวาคม 2566 จํานวน 30 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาล แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความเจ็บปวด และแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติการทดสอบค่าไคว์สแคว์ และการทดสอบค่าที
     ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาล ประกอบด้วย กิจกรรม การสนับสนุนด้านจิตใจอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูล การสนับสนุนด้านความสุขสบาย และการสนับสนุนด้านการพิทักษ์สิทธิ์ พบว่า ผู้คลอดที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของพยาบาลมีระดับความเจ็บปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดที่เหมาสมเพิ่มขึ้นหลังที่ได้รับการพยาบาลในทุกระยะของการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .01) และมีความพึงพอใจในการคลอด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{X} = 5.00, S.D. = 4.03)

References

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย.โนโวนอร์ดิสค์. 2560 ;3.

สินีนาฎ หงษ์ระนัย, อรุณีพึ่งแพง. การใช้เทคนิคการบรรเทาปวดโดยไม่ใช้ยาในระยะที่หนึ่งของการคลอด: การใช้ผลงานวิจัย. กรุงเทพฯ: แคเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2555.

Adams, S. S., Eberhard - Gran, M., & Eskild A. (2012). Fear of childbirth and duration of labour: A study of 2206 women with intended vaginal delivery. British Journal of Obstetrics and Gynaecology, 119, 1238-1246.

Adolescent MothersPanyoi, P., Phumdoung, S., & Thiptamphong, B. (2015). Fear of childbirth and coping strategies of adolescent pregnant women. Journal of Nursing Science and Health, 38(4), 34-43. [In Thai]

Alehagen, S., Wijma, K., & Wijma, B. (2001). Fear during labor. Acta Obstetricia & Gynecologica Scandinavica, 80, 315-320

Amen Ness, MDJay Goldberg, MD Vincenzo Berghella, MD. Abnormalities of the First and Second Stages of Labor. Obstet Gynecol Clin N Am. 2005;32: 201-220

Anusornteerakul, S., & Kittiprisada, P. (2013). The effect of health education program and relative assistant on pain, fear, anxiety in primiparous during the first stage of labor. Journal of Nursing Science & Health, 36(1), 23-31. [In Thai]

Balaskas, J. (1992). Active birth: The new approach to giving birth naturally. Harvard Common.

Bodil Wilde-Larsson RNT, PhD, Ingegerd Hildingsson RNMT, PhD, Ann-Kristin Sandin-Bojo RNMT, PhD. Prevalence of Prolonged Latent Phase and Labor Outcomes: Review of Birth Record in Swedish Population.Journal of midwifery & woman’s Health. |Published online:08 Feb 2023–Volume 63- Issue1. [Internet]. Available from: https://doi.org/10.1111/jmwh.12704.

Varney H, Kriebs JM, Gegor CL. Varney’s midwifery. 4thed. Massachusetts: Jones and Bartlett; 2004.

WHO Health Organization. (2014). Adolescent pregnancy. Retrieved from http://www.who.int/reproductivehealth/publication/ publist.htm.

ปาริฉัตร อารยะจารุ. (2555) ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรม การเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก . มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/MU.the.2012.135

Schaefer MA. Social Support: Journal of middle Range Theories Application to Nursing Research. 2nded. Philadephia: Lippincott Williams and Wilkins.2013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29