การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวในแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อารีย์ สมบัติรงรอง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านโป่ง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพ ผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดร่วมกับมีภาวะหัวใจล้มเหลวในแผนกผู้ป่วยนอก โดยศึกษาในผู้ป่วยกรณีศึกษา 1 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน ร่วมกับกรอบแนวคิดแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน และทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม โดยผ่านการเยี่ยมบ้านทั้งหมด 4 ครั้ง ระยะเวลา 3 เดือน
     ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และตีบตันของหลอดเลือดโคโรนารีซ้ำ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด รูปแบบการพยาบาลที่ส่งเสริมความสำเร็จ คือ การพยาบาลแบบองค์รวมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ ตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ผู้ศึกษา และครอบครัว ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลกับผู้ป่วยที่ทำได้จริง

References

จินตนา มีวรรณสุขกุล, คุณญา แก้วทันคํา. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังทําบอลลูนหัวใจคลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2565;30(1):52-68.

ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา Handbook of drugs. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ: N P Press Limitef Partnership; 2559.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลและระบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. (พิมพ์ครั้งที่ 20). สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2560.

พารุณี วงษ์ศรี, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนําผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561;10(1):209-219.

ระบบคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center : HDC [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

เวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลบ้านโป่ง. รายงานสถิติประจำปี 2564-2566. ราชบุรี: โรงพยาบาลบ้านโป่ง; 2566.

สุภาวรรณ ชินพันธุ์, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, สมบัติ อ่อนศิริ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ใส่ขดลวดค้ำยัน. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;20(3):218-226.

สุนิสา เดชพิชัย, จิราภรณ์ ชูวงศ์. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของโอเร็มในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจลําบากเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ: กรณีศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563;3(2):207-223.

อุษณีย์ หลิมกุล. คู่มือการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล. กรงุเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาลวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล; 2561.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาล : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29