การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (Search out Severity Score : SOS score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัจชราณี อุดน้อย โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การติดเชื้อในกระแสโลหิต, การบันทึกสัญญาณเตือน (SOS Score)

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวทางปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (Search out Severity Score : SOS score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลสร้างคอม ขั้นตอนการศึกษา 3 กระบวนการ ดังนี้ (1) กระบวนการพัฒนา (2) กระบวนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ และ (3) กระบวนการการประเมินผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย และกลุ่มทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 30 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน จำนวน 24 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติการพยาบาลด้วยบันทึกสัญญาณเตือน (SOS Score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต แบบบันทึกสัญญาณเตือน (SOS Score) ในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต และแบบสอบถามความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อแนวปฏิบัติฯ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และ .89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตในกลุ่มทดลองหลังจากใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต มีภาวะอวัยวะล้มเหลวลดลงและไม่พบการเสียชีวิต ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมก่อนการใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ (M= 3.79, SD= .33) และความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติฯ (M= 3.73, SD= .38) อยู่ในระดับมาก

References

Dallinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med 2013; 41(2):580 –637.

Reinhart K, Denial R and Machado FR. The burden of sepsis : a call to action in support of World Sepsis Day 2013. J Crit Care 2013;28:526 –530.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กองตรวจราชการ. แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 สิงหาคม 20]. เข้าถึงได้จาก:http://www.data. ptho.moph.go.th> inspec/2561/ inspec1/doc22dec/pdf.

Masoud El-SS. The nursing strategy for caring patients with septic shock. [online] 2015 [cited 2023 Oct 12];Available from:http://www. rmsolutions.net/ sccs/sites/ default/files/ 061001.pdf.

Bentley, J., Henderson, S., Thakore, S., Donald, M. and Wang, W. 2016. Seeking Sepsis in the Emergency Department-Identifying Barriers to Delivery of the Sepsis 6. BMJ Quality Improvement Reports 2016, Retrieved December 14, 2016 u206760.w3983 doi:10.1136/bmjquality. u206760.w3983.

สาคร เสริญไธสง. (2561).ผลของการใช้ระบบ Modified Early Warning Scores (MEWS) ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านผือ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี,27(2), 223-230.

Chen, Q.H., Zheng, R.Q., Lin, H., Lu, N.F., Shao, J. , Yu J.Q. , et al. The impact of different fluid management on mortality in patients with septic shock. Zhongguo Wei Zhong Bing Ji Jiu Yi Xue 2011; 23(3):142-145.

National Health and Medical Research Council. A guideline to the developmental, implementation and evaluation f clinical practice guidelines [Internet]. 1999 [Cited

กลุ่มภารกิจด้านเวชสถิติ โรงพยาบาลสร้างคอม, 2564.

ดาวเรือง บุญจันทร์. (2556). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนใน

ศิรดา ทวีวัน. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มี2023 Aug 9. Available from: http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/file/publications/synopses/cp30.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29