การพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยใช้หลักการ 3อ.2ส. บ้านโคกมะนาว ตำบลหนองปลิง อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • คำวรรณ์ ปราศรัยงาม โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นมีรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กระบวนเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งเชิงปริมาณ ได้แก่ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส. ในพื้นที่บ้านโคกมะนาว ตำบลหนองปลิง อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 22 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติ pearson correlation, paired – t test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา         ผลการศึกษาพบว่า ความรู้หลังได้รับการอบรมมีระดับความรู้ดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอาหารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านอารมณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านการออกกำลังกายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้านบุหรี่ในปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและด้านสุรากับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2สของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ที่ได้ใช้โปรแกรมมีผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น ได้แก่ ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนักและรอบเอว ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ความพึงพอใจต่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส จากการสอบถามผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานโดยใช้หลักการ 3อ.2ส. ทั้งรูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ หลังจากปฏิบัติตัวที่บ้าน และมีความพึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเพราะทำรู้สึกสบายตัวขึ้น มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่ทำร่วมกับชุมชน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สสส.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ.(2564). ยกระดับ อสม. เป็นนักจัดการสุขภาพชุมชน.สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th

กรฐณธัช ปัญญาใส, พีสสลัลฌ์ ธํารงศ์วรกุล, และสุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล. (2560). ความรอบรู้ทางด้าน

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองและจิราพร วรวงศ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.16(2): 454-468.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. (2566). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น. 4(1):137-152.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). โครงการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เรื่อง health literacy เพื่อสร้างเสริมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ด้านสุขภาพสําหรับประชาชน ปีงบประมาณ 2563-2564.

ธนิดา ผาติเสนะ. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาพฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. 113 นครราชสีมา: โปรแกรมวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29