ผลของการพัฒนาการจัดเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกแบบใหม่ต่อระยะเวลาในการเตรียม เครื่องมือผ่าตัด ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
อุปกรณ์ผ่าตัด, ห้องผ่าตัด, การเตรียมเครื่องมือผ่าตัด, ต้อกระจกบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลแนวปฏิบัติในการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกของพยาบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ 3) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนครั้งที่หยิบเครื่องมือเพิ่มระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ โดยการผ่าตัดโดยการใช้เครื่องมือผ่าตัด 2 รูปแบบ คือ กลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ และกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิม ในการผ่าตัดผู้ป่วยจำนวนกลุ่มละ 20 คน เก็บข้อมูลในพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู เดือนพฤศจิกายน 2566ถึงเดือนมีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลของข้อมูลระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติอนุมาน
ผลการศึกษา พบว่า ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จำนวนครั้งที่หยิบเครื่องมือเพิ่ม ในกลุ่มการใช้เครื่องมือแบบจัดชุดเตรียมสำเร็จแบบใหม่ดีกว่ากลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิม (p<0.001) โดยที่ประสบการณ์ทำงานในห้องผ่าตัดของพยาบาลทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการจัดเตรียมเครื่องมือผ่าตัดต้อกระจกของพยาบาลห้องผ่าตัดในภาพรวมพบร้อยละ 100 ในขณะที่กลุ่มการใช้เครื่องมือแบบเดิมมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบเดิมเพียงร้อยละ 50 (p<0.001)
References
กนิษฐา อิสสระพันธุ์ และ เพียงฤทัย โรจน์ชีวิน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผ่าตัดสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บทีศีรษะ, วารสารวิชาการสาธารณสุข, ปีที่ 5 ฉบับที่ 25 กันยายน - ตุลาคม 2559
จินตนา ดาวเรือง. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อในห้องผ่าตัด สถาบันบําราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2559
บุศรินทร์ จงใจสุรธรรม, ขนิษฐา นาคะ, วิภา แซ่เซี้ย. การปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2560 หน้า 27-40
พวงพันธ์ นุริตมนต์, ประสิทธิผลการพัฒนาแนวปฏิบัติในการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดข้อเข่าเทียม ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลหนองบัวลำภู, 2565
โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. ต้อกระจก. Online: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/Nurse/knowl.nurse/65/07-07-65/07072022.pdf
ลดาวัลย์ พลวิเศษ และ นภัทร ศรีสร้อย. การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันเครื่องมือผ่าตัดสูญหายในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส, วารสารโรงพยาบาลนครพนม, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (2019): กันยายน - ธันวาคม 2562
วัฒนีย์ เย็นจิตร, ภฤศ หาญอุตสาหะ, โสภณ เอี่ยมศิริ, ถาวร อุดมศิริ, ผ่องพักตร์ ชูศรี, ฉวีวรรณ เย็นจิตร. สภาวะตาบอด สายตาเลือนลางและโรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขไทย พ.ศ.2549-2550. จักษุสาธารณสุข 2550;21(1): 10-94.
ศิริพร ประลันย์. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการทำงานเป็นทีมต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม.กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครพนมOnline:https://ict.nkphospital.go.th/nkph/index.php/download/category/60-2021-09-28-11-20-36?download=301:01
สบง ศรีวรรณบรูณ์. การวิเคราะห์สภาพตา สำหรับการแก้ไขสายตาผิดปกติโดย Corneal Topography และ Wave-front Sensing. กรุงเทพฯ: งานตำราวารสารและสิ่งตีพิมพ์ สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตรศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547
สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย [ออนไลน์]. 2560 (http://www.oppo. opp.go.th/pages/situation/ situation_01.html.)
International Agency for the Prevention of Blindness. Cataract [Internet] 2017. [cite 2014 Mar 11]. Available from: http://www.iapb.org/vision2017/what-is-avoidable blindness.
Results of RAAB Thailand 2013. RAAB Thailand Study Group, Mettapracharak (WatRaiKhing) Hospital 2013.