การประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร

ผู้แต่ง

  • ทนง คำศรี -
  • นวรัตน์ สิงห์คำ
  • นิภารัตน์ แสงกุล

คำสำคัญ:

หน่วยบริการปฐมภูมิ, PCU, NPCU

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร  ระหว่างวันที่ 5 - 25 มกราคม 2567 โดยศึกษาในบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพิบูลมังสาหาร  จำนวน 159 คน  ประชาชนที่รับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 1,336 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผลการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้วยสถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย( Means) และการวิเคราะห์เนื้อหาจำแนกรายข้อ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ด้วย dependent T-test
     ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาศักยภาพการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ  ดังนี้  PCU 3 แห่ง  NPCU 2 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 13 แห่ง  โดยในการจัดบริการ PCU และ NPCU จะมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวพร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพออกให้บริการ 3 ครั้งต่อสัปดาห์  จะมีแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวออกให้บริการเดือนละ 1 ครั้ง ผลการประเมินที่พบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.10 รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของกระบวนการจัดโครงการ(Process) การประเมินด้านความพอเพียงของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ(Input) และด้านความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการจัดโครงการ(Product) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.97, 3.78 และ 3.52 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยหน่วยบริการ PCU/NPCU  ดีกว่าหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < 0.05 แต่ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อหน่วยบริการ PCU/NPCU และหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ  ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05  ดังนั้นจึงยังต้องมีการพัฒนาการจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีการเพิ่มศักยภาพให้เป็น PCU หรือ NPCU ให้มีบริการที่แตกต่างและชัดเจนขึ้น

References

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ .คู่มือแนวทางการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็น หน่วยบริการประจำหน่วยบริการปฐมภูมิ และหน่วยบริการร่วมให้บริการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565.[เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ย.2566] เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/52/แนวทางประเมินหน่วยบริการประจำ-ปฐมภูมิ_2561.pd

นันทินารี คงยืน.ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิกับมาตรฐานการพัฒนา. [อินเทอร์เน็ต]. 2560.[เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ย.2566] เข้าถึงได้จาก https://phad.ph.mahidol.ac.th/journal_law/3-3/12-Nantinaree%20Khongyuen.pdf

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, & applications. San Fracisco, CA., John Wiley & Sons

มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์ และ ปิยะนุช พรหมสาขา.ประเมินผลการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ ตามการรับรู้ของ ประชาชนที่เคยใช้บริการ.[อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ย.2566] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/248507/169004

สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ.พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ย.2566] เข้าถึงได้จาก http://www.sadathai.org/wp-content/uploads/2021/02/6_1

CIPP EVALUATION MODEL CHECKLIST [Second Edition] A tool for applying the CIPP Model to assess long-term enterprises Intended for use by evaluators and evaluation clients/stakeholders Daniel L. Stufflebeam March 17, 2007 International Handbook of Educational Evaluation, 31-62 T. Kellaghan, D.L.

กรรณิกาเรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ และคณะ. การประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานของการจัด บริการสุขภาพอย่างบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคเรื้อรังของหน่วยบริการภายใต้เครือข่าย บริการปฐมภูมิ[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ย.2566] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/255697/175383

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29