การพัฒนาโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • โฉมฐิตาภา ศิริมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลผาขาว
  • สุลาลักษณ์ จำเรียง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลผาขาว

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาการติดเชื้อและการสร้างโปรแกรม ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมและศึกษาผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่คาสายสวนปัสสาวะ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ 1) แบบประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรม 2) แบบประเมินความเป็นไปได้ของโปรแกรม 3) คู่มือของโปรแกรม 4) สื่อการสอน 5) แผนการสอน ระยะที่ 2 ได้แก่ 1) แบบติดตามการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ web app notify 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของการใช้โปรแกรม 3) เวชระเบียน 4) คู่มือ 5) สื่อให้ความรู้ ระยะเวลาดำเนินงาน ระยะที่ 1 เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2566 ระยะที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2566 ทั้ง 2 ระยะใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง PDCA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
     ผลการศึกษา พบว่า 1) ได้โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามโปรแกรมหลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม 3) ความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมาก 4) ค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตามแบบติดตามการป้องกันการติดเชื้อโดยใช้ web app notify หลังใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม 5) ความคิดเห็นการใช้โปรแกรมอยู่ในระดับมาก 6) ไม่พบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่า 7) วันนอนเฉลี่ยของการติดเชื้อลดลง จาก 6 วันเป็น 0 วัน 5) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจากการติดเชื้อลดลงจาก 2,080 บาท/ราย เป็น 0 บาท/ราย

References

ปิยะดา ธนันชัย.(2553) การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2563). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.(2558). CAUTI BUNDLE [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลรามาธิบดี [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://rama.mahidol.ac.th

โรงพยาบาลผาขาว. โปรแกรม HosXP, 2565

ปิยะดา ธนันชัย.(2553). การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัทมา วงษ์ กีผู้.(2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลีนิคต่อการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29