การพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล , โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 68 ปี มีประวัติเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมา 6 ปี โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง 10 ปี
ผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอดและส่งเสริมเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความทนในการทำกิจกรรม การลดปริมาณของเสียในร่างกายและชะลอไตเสื่อมสภาพ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การควบคุมอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่ให้กำเริบ การป้องกันการเกิดภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง การลดความวิตกกังวลผู้ป่วย ซึ่งผลการพยาบาลทำให้ทุกปัญหาของผู้ป่วยมีแนวโน้มดีขึ้น
References
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเภสัชกรนักปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2567[สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567]; เข้าถึงจากhttps://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=5183
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)[อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงจากhttps://lei.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=67473ea582306d345ce1bb44b06ba2e9
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา และลาลิน เจริญจิตต์. บทบาทพยาบาลในการจัดการอาการของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2565; 38(2): 12-25.
ศศิธร วงส์รัตนากร. การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อภาวะการเกิดทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และวันนอนโรงพยาบาลในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2563; 40(2): 25-32.
ทีมนำทางคลินิกสาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลอัมพวา. รายงานการทำ Clinical Tracer Highlight COPD. 2565