การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสถานการณ์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนา และเพื่อประเมินผลรูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการระหว่าง พฤศจิกายน 2566 – มกราคม 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ แบบสอบถามรูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง และแบบรายงานการดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรมฯ ใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยระยะกลาง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากคิดเป็น = 4.02 ,SD = 0.547 ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติดูแลผู้ป่วยภายหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และบุคลากรสหวิชาชีพ มีความคิดเห็นว่าคู่มือการจัดระบบบริการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง ของโรงพยาบาลในจังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำไปใช้ได้ ง่ายอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ในทางปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
References
คณะทำงานโครงการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู(Subacute Rehabilitation)พศ.2558-2559,การพัฒนางาน การดูแลผู้ป่วยระยะฟื้นฟู(Subacute Rehabilitation) และถอดบทเรียนการดำเนินงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และถอดบทเรียนการดำเนินงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. 2559,สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ.
จามจุรีย์ เลิศจันทร และคณะ. (2564). โครงการพัฒนาระบบบริการการบริบาลฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) จังหวัดเชียงใหม่ Development of Intermediate Care system for post-acute patients, Chiang Mai province ISBN: 978-616-398-538-5 ,บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด โทรศัพท์ 0 5321 6962
วีระศักดิ์ รัตนชัยฤทธิ์.และคณะ ( 2565) . การพัฒนารูปแบบการบริบาลฟื้นสภาพผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care :IMC) จากโรงพยาบาลสู่ชุมชนเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด
นงณภัทร รุ่งเนย และคณะ (2564). ได้ศึกษาความสำเร็จของการดำ เนินงานการดูแลสุขภาพระยะกลาง วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2564 หน้า 81 –101https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5338/hsri-journal-v15n1-p81-101.pdf?sequence=1&isAllowed=y
จเร วิชาไทย และคณะ (2552). การจัดบริการและต้นทุนบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ. 2009, สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.): นนทบุรี
นพรดา สุประภารัชต์ (2562) การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคี อำเภอเข้าค้อ ปี 2562
แนวทางการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลางกองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดพิมพ์โดย กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่1 สิงหาคม 2562 จำนวน 3,500 เล่ม พิมพ์ที่ บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด
สถาบันประสาทวิทยา, แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3,ed. พ. 1. 2559, กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.