ผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลห้องผ่าตัดตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อัญชะนา สงโพธิ์กลาง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

เทคนิคการสอนงาน, ห้องผ่าตัด, ความปลอดภัย

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลห้องผ่าตัดตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องผ่าตัดโรงพยาบาลวานรนิวาสไม่เกิน 5 ปี จำนวน 12 คน โดยมีผู้สอนงานคือพยาบาลที่มีประสบการณ์นานกว่า 5 ปี และเป็นหัวหน้าประจำห้องผ่าตัดแต่ละห้อง จำนวน 6 คน ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินทักษะการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด แบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการสอนงาน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมเทคนิคการสอนงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon Signed Rank test
     ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลังใช้เทคนิคการสอนงานสูงกว่าก่อนใช้เทคนิคการสอนงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=-3.072, p=0.002) และก่อนใช้เทคนิคการสอนงานพบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 16 ครั้ง แต่ไม่พบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์หลังใช้เทคนิคการสอนงาน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคนิคการสอนงานอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

References

Thongspaya S & Wivatvanit S. The development of perioperative nurse’s competency scale, Rajavithi hospital. Chulalongkorn journal of nursing 2008, 20(2), 129. Thai.

Kessomboon P, Pannarunothai S, & Jongsuwiwanwong W. Reliability of chart reviews for detecting adverse events in hospitalized patients: A pilot study. Nonthaburi: Institute for Health Systems Research;2003.

World Health Organization. WHO guidelines for safe surgery 2009: safe surgery saves lives. Geneva: World Health Organization; 2009.

Haynes AB, Weiser TG, William RB, Lipsitz SR, Breizat AHS, Dellinger EP, et al. A surgical safety checklist to reduce morbidity and mortality in a global population. N Engl J 2009,360(5),491-499.

Bergs J, Hellings J, Simons PAM, et al. Surgical safety checklists an update. Acta Chirurgica Belgica 2014, 114(4),219-224.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์;2551.

บุศรินทร์ จงใจสุรธรรมและขนิษฐา นาคะ. การปฏิบัติพยาบาลของพยาบาลห้องผ่าตัดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560,37(2),27-40.

ศรีสุดา พีรวณีชกุล, อนงค์ ศรชัย, วิลาวรรณ ตันติสิทธิพร, คำพอง คำนนท์ และวันเพ็ญ สุกแสง. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564,31(2),26-41.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, Coaching: การพัฒนาผลงานที่มองข้ามไม่ได้. ProductivityWorld 2551, 13(77),72-78.

Canadian Nurses Association. Achieving excellence in professional practice: A guide to preceptorship and mentoring. Ottawa: Canadian Nurses Association; 2004.

Donner G, & Wheeler MM. Coaching in nursing: An introduction. Indianapolis: Printing Partners;2009.

ประวีณา คาไซ. การสอนงานกับการบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2551,2(2),42-58.

จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์, วาสนา บุตรปัญญา, นลินี เดือนดาว, และจีระนันท์ มั่นเหมาะ. ประสิทธิภาพของโปรแกรมการโค้ชพยาบาลวิชาชีพในการเตรียมความพร้อมผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2555,20(1),26-34.

กัญจน์ชยารัตน์ อุดคำมี, พรธิดา ชื่นบานและลักษณา จันทราโยธากร. ผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2563, 28(2),18-24.

นพวรรณ กฤตยภูษิตพจน์. ผลของการใช้โปรแกรมการสอนงานสำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564,5(1),1-12.

สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร;2554.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การสอนงาน เปิดโลกทัศน์พัฒนาทุนมนุษย์[อินเตอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นวันที่ 29 กันยายน 2566]. แหล่งข้อมูล http://www.oscc.go.th

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด;2549.

เรณู อาจสาลี. การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส;2553.

ธัญพร ชื่นกลิ่นและวัชรา เล่าเรียนดี. การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2555, 4(1),112-129.

ศิริรัตน์ จึงสมานและภาวิณี แพงสุข. การพัฒนารูปแบบการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2563,28(2),130-142.

ณัฏฐภัทร์ อัฐวงศ์. ผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564,29(1),101-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29