การพัฒนารูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการ ความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ประพัทธ์ ธรรมวงศา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ความปลอดภัยทางถนน, คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การอุบัติเหตุทางถนนอำเภอกุมภวาปี พัฒนาและประเมินผลรูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาดำเนินการวิจัย สิงหาคม 2566 - มกราคม 2567 กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุ อ.กุมภวาปี ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบความปลอดภัยทางถนน ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน (Inferential statistic) ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired sample t-test  และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 1) การขับเคลื่อนสร้างกลไก ศปถ.อำเภอที่มีประสิทธิภาพ 2) การวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุด้วยเครื่องมือจัดการเชิงผลลัพธ์ (เครื่องมือ 5 ชิ้น) 3) การจัดการจุดเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนนโดยภาครัฐ ท้องถิ่นและชุมชน 4) การประชุม ศปถ.อำเภอ ติดตามอย่างต่อเนื่อง 5) การดำเนินงานแนวทาง กุมภวาปี โมเดล กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน พบว่า ภายหลังดำเนินการค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนน ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และผลการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ พบว่า จำนวนผู้รับบาดเจ็บลดลงร้อยละ 34.07 และจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 25.80

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2023. Geneva: World Health Organization. Geneva: World Health Organization; 2023.

World Health Organization. Global status report on road safety 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

วิทยา ชาติบัญชาชัย. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนและการจัดการกับปัญหาของประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2565; 2(2): 187-198.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: http://dip.ddc.moph.go.th/new/3base_status_new

ปัญณ์ จันทร์พาณิชย และคณะ. แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance : IS). [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dip.ddc.moph.go.th/new/บริการ/is-real-time

บุญยืน ศรีสว่าง. แนวโน้มอุบัติเหตุทางถนนและความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนเขต พื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2561; 32(4): 1451-1462

ธนภัทร สมใจ. รูปแบบการจัดการอุบัติเหตุทางจราจรอย่างมีส่วนร่วมระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2564; 1(3): 45-59.

Kemmis, S., & Mctaggart, R. The action research planner, Waurn Ponds (3rd ed.). Victoria: Deakin University Press; 1988.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. รายงานสถิติผู้ประสบภัยจากรถทั่วประเทศ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค.2566].เข้าถึงได้จาก:https://app.powerbi.com/view?r=eyJrIjoiZWFkZWYzNjMtMzlmNy00ZGI1LWJkNTItNGQ3ZDk2MDNkMGVmIiwidCI6IjBiNTRkMTRlLTMyYTktNGEyMC1iOTVhLTgzMWQ0ZTQ5MmE5NyIsImMiOjEwfQ%3D%3D

รังสรรค์ ศรีคราม. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ 2566; 2(3): 52-66.

ศรีสมบูรณ์ คำผง. การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม 2564; 1(2): 72-86.

ธนบดี โจทย์กิ่ง. ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพด่านครอบครัว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ทางถนน อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 2565; 5(1): 130-154.

อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์, ชญานิน กฤติยะโชติ, ณัฐกร โต๊ะสิงห์,ทิพย์สุดา กุมผัน, โชติรส นพพลกรัง. การแปลงธรรมนูญตาบลสู่การปฏิบัติ ประเด็นการจัดการความปลอดภัยทางถนน ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2564; 4(2): 122-133.

สุดนิรันดร์ เพชรัตน์, รุ่งอรุณ บุญถ่าน, ศานติ จินตรัตน์. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการขับขี่่ยานพาหนะย้อนศร:กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2559; 11(2) : 141-152.

ปิยนุช ภิญโย,กิตติภูมิ ภิญโย,กล้วยไม้ ธิพรพรรณ,ประภัสสร ชาวงษ์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1): 160-174.

ชรินทร์ สุวรรณภูเต. การศึกษาการดำเนินการตามนโยบายป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดหนองคาย. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, อรชร อัฐทวีลาภ, ลักขณา ไทยเครือ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ วงรอบที่ 3 จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23(4): 580-590.

สารสิน กิตติโพวานนท์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนน อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2565; 5(3): 233-245.

มนัญชัย รูปต่ำ.การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2563; 7(3): 206-214

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29