สมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • เรณู สุวรรณเนาว์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน จังหวัดชุมพร
  • วิษณุ อนิลบล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

สมรรถนะการดูแลผู้ป่วย, เครื่องช่วยหายใจ , พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับสมรรถนะในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 143 ราย สุ่มแบบบังเอิญจากพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล 5 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและสมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 6 ด้าน ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความตรงตามเนื้อหา 1 และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
     ผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม การปฏิบัติทางการพยาบาล ทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล การสื่อสาร และการบริหารจัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานทั้งหมด และประวัติการได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมทางการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2566 : คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน”. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ; 2566.

สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจน (พิมพ์ครั้งที่2). ชานเมืองการพิมพ์. สงขลา; 2549.

จันทร์เพ็ญ เนียมวัน, เดือนแรม เรืองแสน และวราทิพย์ แก่นการ. สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 28(1):6-14.

วราภรณ์ ธโนโรจน์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, และ สิริรัตน์ วิภาสศิลป์ทิพย์. การกำหนดสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลตำรวจ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. 2545

สุนันทา ระวิวรรณ. สมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 67]. เข้าถึงจาก: https://www.vachiraphuket.go.th/articles/research/the-professional-nurses-competencies-in-caring-management-of-patients-with-mechanical-at-vachira-phuket-hospital

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสาหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโรยามาเน่และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 2562; 8(1):11-28.

กุลญนาท ผ่องแผ้ว, และสมหมาย คชนาม. สมรรถนะการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วชิรสารการพยาบาล 2561; 20(2):1-12.

ปนัสยา หนูริ. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาล โรงพยาบาลวิภาวดี. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรามคำแหง [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 67]. เข้าถึงจาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993399.pdf

ธนิตา กำจิตเอก. ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. สารนิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก. 2562.

แจ่มจันทร์ คล้ายวงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในงาน ลักษณะงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลในเครือสมิติเวช. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29