การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่กลับเป็นซ้ำ ในระบบประสาทส่วนกลางที่ต้องวางยาสลบขณะฉายรังสี: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัทธิรา จันทะดวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลับที่กลับเป็นซ้ำ, วางยาสลบขณะฉายรังสี

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่กลับเป็นซ้ำในระบบประสาทส่วนกลางที่ต้องวางยาสลบขณะฉายรังสีศึกษาในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาที่งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 2 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ดูแล  โดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน ปฏิบัติการพยาบาลและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน
     ผลการศึกษา พบว่า มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลคล้ายคลึงกัน 5  ข้อ คือข้อที่ 2 ผู้ป่วยและญาติมีความ กลัว วิตกกังวล ข้อที่ 4 มีภาวะขาดสารน้ำสารอาหารและความไม่สมดุลของเกลือแร่ ข้อที่ 5 ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ในการดูแลผิวหนังบริเวณที่รับการฉายรังสี ข้อที่ 8 เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันถูกกดจากการฉายรังสี และข้อที่ 9 ผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยหลังฉายรังสี ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกันมี 4 ข้อ คือข้อที่ 1ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการฉายรังสี ข้อที่ 3 ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนรับการวางยาสลบเพื่อฉายรังสี ข้อที่ 6 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะที่ต้องอยู่ในห้องฉายเพียงลำพังหลังจากการวางยาสลบ และข้อที่ 7 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายภายหลังการวางยาสลบ ซึ่งพบในผู้ป่วยรายที่ 1 ผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า ปัญหาทางการพยาบาลได้รับการแก้ไขและวางแผนดูแลต่อเนื่อง  ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการฉายรังสีครบและจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย

References

World Health Organization. CureAll framework: WHO global initiative for childhood cancer.Increasing access, advancing quality, saving lives (Internet). Geneva: WHO; 2021 [cited 2022May 5J. Available from Licence: CC BY-NC-SA 3.0IGO;https:/ /creativecommons.org /licenses/by-nc-sa/3.0/igo/

Nakagawara A. Asian Pediatric Hematologyand Oncology Group (APHOG) and SIOP Asia:Two wheels of a cart. Pediatric HematologyOncology Journal2020;5:140-4.

Sangrajrang S, Buasom R. Cancer incidencein Thailand. In: Rojanamatin J, UkranunW,Supattagorn P, Chiawiriyabunya I, WongsenaM, Chaiwerawattana A, et al., editors. Cancerin Thailand: Xol.X, 2016-2018. Bangkok:Medical Record and Database Cancer Unit;2021:p.4-68.

Ramathibodi comprehensive cancer center.Cancer report. Bangkok: Mahidol University;2020:p.3-54.

SrimanaNiyomkha. Basic knowledge and nursing care for pediatric cancer patients. Faculty of Nursing Chiang Mai University.Smart Coating and Service Company Limited.2020 page 71

WorayaNgernthuean, BanchaPantaeng, and PhothongDuangsuphan. Strengthening morale to reduce the number of child cancer patients who require anesthesia and reduce anxiety of pediatric patients undergoing radiation at ChulalongkornHospital.Journal of Thai Association of Radiation Oncology.Vol.27 No.1 January - June 2021. หน้า R3-R4

Punthasee P. Nursing process & functional health pattern: application in clinical practice. 22'd ed. Samut Prakan : Faculty of Nursing HauchiewChalermprakiet University; 2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29