การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ ทวีชัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, รังสีรักษา

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ที่งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่นจำนวน 2 ราย ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2565  ถึงเมษายน  2566  โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การซักประวัติจากผู้ป่วย การสอบถามข้อมูลจากบุคลากรประจำห้องรังสีรักษา วิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพ ประเมินปัญหาทางการพยาบาลโดยใช้แบบแผนการประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอน และใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอน แบ่งการพยาบาลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกรับ ระยะอาการคงที่ต่อเนื่อง และระยะจำหน่ายติดตามต่อเนื่อง
     ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ที่เหมือนกันทั้งหมด 7  ข้อ ได้แก่ 1) มีภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย เนื่องจากมีเลือดออกขณะทำแผล 2).ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลที่มะเร็งเต้านมลุกลาม3) มีภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย 4).ติดเชื้อแผลเต้านมเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ 5). วิตกกังวลเนื่องจากสูญเสียภาพลักษณ์มีแผลเปิดและมีสารคัดหลั่งซึมออกจากเต้านม 6).ส่งเสริมการจัดการตนเองเมื่อกลับบ้านและการดูแลต่อเนื่อง 7) การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติเข้ารับการดูแลแบบประคับประคอง ส่วนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ต่างกัน กรณีศึกษารายที่1 คือ 1)  ผู้ป่วยไม่พร้อมในการรักษาเนื่องจากมีปัญหาการจัดการการดูแลในครอบครัว  กรณีศึกษารายที่ 2 1) วิตกกังวลเนื่องจากเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำของโรค มีอาการรุนแรงมากขึ้น 2)  มีภาวะข้อไหล่ติด และไหล่ซ้ายบวม เนื่องจากขาดความรู้ในการบริหารแขนไม่ถูกต้อง 3) มีผิวหนังหลุดลอกระดับ 3 เนื่องจากผลข้างเคียงของรังสีรักษา ผลลัพธ์การพยาบาล พบว่า ปัญหาทางการพยาบาลได้รับการแก้ไขและการดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนได้ ได้รับการรักษาครบตามแผนการรักษา

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: หน่วยงานเวชระเบียนฐานข้อมูลโรคมะเร็งกลุ่มงานดิจิทัลการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2563

จิรพร ทัพธานี (2566)การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : กรณีศึกษา วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2566

สวนีย์ นิรันดร์ศิริผล.การเปรียบเทียบผลข้างเคียงผิวหนังอักเสบระยะเฉียบพลันจากการฉายรังสี แบบสั้น (hypofractionated radiotherapy) กับการฉายรังสีแบบปกติ (conventional radiotherapy) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดเต้านมทั้งเในผู้ป่วยมะเร็งศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(1) Srinagarind Med J 2021; 36(1)resected locally advanced breast cancer. Ann Palliat Med. 2018;7(4):373-84.

ภัทิรา บัวพูล.การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษา ใน:ศิริอร สินธุ,บรรณาธิการ.การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา.นนทบุรี:วัฒนาการพิมพ์;2565.p.173-222

Meattini l, Francolini G, Livi L. Radiosensitivity in the breast cancer management scenario:another step forward? J Thorac Dis. 2016;8(10):E1361-E3.

จารุนี แก้วอุบล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม The Effective of Program Providing Information to Quality of Life among the Breast Cancer Patient Receiving Breast Surgery.2563. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ปีที่ 4 ฉบับที่ 7 : ตุลาคม 2562 - มีนาคม 2563

มลฤดี เกษเพชรและนิโรบล กนกสุนทรรัตน์.การป้องกันและการจัดการภาวะแขนบวมจากน้ำเหลืองคั่งในผู้เป็นมะเร็งเต้านม:บทบาทพยาบาล.2017. Rama Nurs J.January-April 2017;23(1).

กิตติวดี ศักดิ์ตรชัย. มะเร็งเต้านม. ใน: ธวัชชัย ชัยวัฒนรัตน, จักรพงษ์ จักกาบาตร์, ศศิธร ศิริสาลิโภชน์ และกิตติวดี ศักดิ์ตรชัย, บรรณาธิการ. รังสีวิทยา: เวชศาสตร์นิวเคลียร์ รังสีรักษา และมะเร็งวิทยา. กรุงเทพ:จุฬาลงกณ์มาหวิทยาลัย; 2563. p. 426-48

ก้านแก้ว ราชดุษฎี. กรณีศึกษาอุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านมในกลุ่มประชากรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น Incidence of breast cancer : A study in patient KhonKaen regional hospital 2022. Journal of Health and Environmental Eucation.January-February.2022;6(1).

Mazlyfarin M.,Hui,SK. Using google trends data to study public interest in breast cancer screening in malasia.2019;20:1427-1432.

ธีรวุฒิ รักชอบ.การศึกษาเปรียบเทียบชนิดการผ่าตัดมีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำและการกระจายของมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อย.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2022; 36(1) มกราคม-เมษายน 2564 :169-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29