การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จำนวน 15 คน เครื่องมือประกอบด้วยแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม และแบบประเมินความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ซึ่งแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้พัฒนาขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องทางด้านเนื้อหารวม (S-CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ด้วยความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม ประกอบด้วย 4 หมวด ดังนี้ หมวดที่ 1 การคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้ากับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หมวดที่ 2 การให้การพยาบาลผู้ป่วยตาม Resuscitation Bundle ในระยะ 6 ชั่วโมงแรก หมวดที่ 3 การเฝ้าระวังและติดตามอาการผู้ป่วยขณะที่ให้การดูแลตาม Resuscitation Bundle หมวดที่ 4 การประเมินและการจำหน่ายออกจากแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน 2) การประเมินความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมไปใช้ โดยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกงานอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 15 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 94.5 เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลมีความง่ายต่อการนำไปใช้ และร้อยละ 98.2 เห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลสามารถนำไปใช้ปฏิบัติใช้ได้จริง
References
Singer, M.; Deutschman, C.S.; Seymour, C.W.; Shankar-Hari, M.; Annane, D.; Bauer, M.; Bellomo, R.; Bernard, G.R.; Chiche, J.-D.; Coopersmith, C.M.; et al. The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA 2016; 315, 801–810.
Mehta Y, Kochhar G. Sepsis and Septic Shock. Journal of Cardiac Critical Care TSS 2017; 1(1): 3-5.
Chiu, C.; Legrand, M. Epidemiology of sepsis and septic shock. Curr. Opin. Anaesthesiol. 2021; 34, 71–76.
กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. เล่มแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี2562. [อินเทอร์เน็ต].2562[เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://bie.moph.go.th/einsreport/
WHO. Global Report on the Epidemiology and Burden of Sepsis: Current Evidence, Identifying Gaps and Future Directions; World Health Organization: Geneva, Switzerland, 2020.
World health Organization. Improving the prevention, diagnosis and clinical management of sepsis; 2017.
Gotts EJ, Matthay AM. Sepsis: pathophysiology and clinical management. British Medical Journal; 2016.
Bloos F, Thomas-Ruddel D, Ruddel H, Engel C, Schwarzkopf D, John CM. Impact of compliance with infection management guidelines on outcome in patients with severe sepsis: a prospective observational multi-center study. Critical Care 2014; 18(2): R42.
The Joanna Briggs Institute. (2008). JBI levels of evidence and grading of recommendations. Retrieved January 29, 2023, from http://jbiconnect.org/connect/info/jbi_ebhc_approach.php
ศศิวิมล ศิริรักษ์ และทัศนี ประสบกิตติคุณ. ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลเด็ก. Journal of Nursing Science 2016; 34(1), 5-15
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ = The methodology in nursing research. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550
Geoffrey EH, Rachel ET, Rachel S, Joseph DL, Aaron MB, Andrew JS. et.al. Triage sepsis alert and sepsis protocol lower times to fluids and antibiotics in the ED. American Journal of Emergency Medicine 2016; 34(2016): 1-9
กองการพยาบาล สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท สำ นักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด; 2561
Margaret, M.D., Isabel, F.M., Mary, A.D., & Joyce, J.F. (). Impact of a sepsis educational program on nurse competence. The Journal of Continuing Education in Nursing 2015; 46(4), 179-186.