การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพทาย เทพรัตน์ งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาลโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก, ยาเคมีบำบัด, รังสีรักษา

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาจำนวน 2 ราย เป็นการศึกษารายกรณี ในผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา งานผู้ป่วยนอกรังสีรักษา โรงพยาบาลขอนแก่นจำนวน 2รายโดยเก็บรวบรวมข้อมูล ประวัติการเจ็บป่วย การรักษา จากเวชระเบียน และประเมินภาวะสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการประเมินภาวะสุขภาพ11 แบบแผนของกอร์ดอนวางแผนการพยาบาล กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล   สรุปและประเมินผลลัพธ์
     ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองราย มีความคล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1) พฤติกรรมสุขภาพ ดื่มสุรา สูบบุหรี่เป็นประจำ 2) การวินิจฉัยโรค 3) ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา 4) ภาวะแทรกซ้อน และมีความแตกต่างกันดังนี้ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล  ได้แก่ อายุ  การศึกษา  อาชีพ โรคเรื้อรังประจำตัว 2) อาการและการแสดง 3)ภาวะแทรกซ้อนขณะดูแล หลังให้ยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา ทั้ง 2รายพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนขณะรักษา ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษา ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง  มีการเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล  เสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับการรักษา  ดังนั้น  พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้  ความชำนาญ  ทักษะ    เพื่อให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชวลิต เลิศบุษยานุกูลและสาริน กิจพานิชย์. (2563). 100 เรื่อง รู้จัก รู้รักษา โรคมะเร็งหู คอ จมูก. (พิมพ์ครั้งที่1). ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.

ศิริอร สินธุ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา. ( พิมพ์ครั้งที่1). วัฒนาการพิมพ์

วันทกานต์ ราชวงศ์.( 2559). การดูแลช่องปากในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี. งานพยาบาลรังสีรักษา โรงพยาบาลศิริราชคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. (2557). ผลกระทบจากการรักษาโรคมะเร็ง (Complication of Cancer Therapies). (พิมพ์ครั้งที่1). ทริค ทิงค์การพิมพ์.

อนุสสรา ประยงค์รัตน์. (2559). รังสีรักษาในโรคมะเร็งหลังโพรงจมูก (Radiotherapy in nasophalyngeal Cancer) . สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.

Vasef MA, Ferlito A, Weiss LM. Nasopharyngealcarcinoma, with emphasison its relationshipto Epstein-Barrvirus. Ann Otol Rhinol Laryngol 1997.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติโรคมะเร็ง (Cancer Registry). Retrieved from https//www.nci.go.th/New _web/index.html.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2556).Protocol เพื่อการเบิกจ่ายชดเชยค่ารักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก ปีงบประมาณ 2556. Retrieved fromhttp://medinfo2.psu.ac.th/social/doc/2014-05-01-09-17-27.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29