ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย แสวงหา นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, Corresponding author

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอนหลับ, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 173 คน  ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportionated stratified random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานใช้ Chi-square test ในกรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะใช้ Fishers’ exact test แทน
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.1 มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี โรคประจำตัว ประวัติการป่วยเป็นโรคทางจิตเวชของคนในครอบครัว คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ เวลาในการเข้านอนจนหลับไป และจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับได้ในแต่ละคืน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2560 [Internet]. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2018 [cited 2024 Mar 15]. Available from: https://thaitgri.org/?p=38607

dop.go.th. สถิติผู้สูงอายุ | สถิติผู้สูงอายุ มิถุนายน 2566 by Looker Studio [Internet]. [cited 2024 Mar 15]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449

dop.go.th. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย [Internet]. [cited 2024 Mar 15]. Available from: http://www.dop.go.th/th/know/15/926

Siriphanit B. คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. หมอชาวบ้าน; 2004. 149 p.

Anders MP, Breckenkamp J, Blettner M, Schlehofer B, Berg-Beckhoff G. Association between socioeconomic factors and sleep quality in an urban population-based sample in Germany. Eur J Public Health. 2014 Dec;24(6):968–73.

Medical Asia Healthcare Complex [Internet]. [cited 2024 Mar 15]. Available from: http://www.medasiahealthcare.com/feed.php

คู่มือ/แนวทางเวชปฏิบัติ [Internet]. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. [cited 2024 Mar 15]. Available from: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/manual-guideline/

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโพธิ์ใหญ่. รายงานประจำปี 2566. 2566.

นุสบา ใจซื่อ, อภิญญา ธรรมแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ในตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2021 Jun 2;4(1):81–95.

แบบประเมินความเครียด (SPST-20) | Mentalmate [Internet]. 2023 [cited 2024 Mar 15]. Available from: https://mentalmateservice.com/spst-20/

ณหทัย วงศ์ปการันย์, ทินกร วงศ์ปการันย์ ท, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ม. บุคลิกภาพแปรปรวน : [Internet]. เชียงใหม่ : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,; 2558 [cited 2024 Mar 15]. Available from: https://lib.rmutp.ac.th/bibitem?bibid=b00098941

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI) [Internet]. สุขภาพจิต-. [cited 2024 Mar 15]. Available from: https://dmh.go.th/test/download/-dmh.go.th-

ผานิตา ชนะมณี, สุนุตตรา ตะบูนพงศ์, ถนอมศรี อินทนนท์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ดัชนีชี้วัดคุณภาพการนอนหลับของพิทส์เบิร์ก [Internet]. 2566. Available from: http://www.cumentalhealth.com/index

วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก, นิตยา ทองหนูนุ้ย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 2021 Dec 1;15(3):52–62.

นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์, โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ณ หมู่บ้านประชานิเวศน์. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2019 Oct 9;27(3):183–95.

Maulik P, Joseph CC, Brian WC, and Daniel S. Sleep in the Intensive Care Unit Setting. Critical Care Nursing Quarterly. 31(1):309–18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29