ประสิทธิผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ อัมพวา เทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, การดูแลแบบชุมขนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของชุมชน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 25 คน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 12 คน และเครือข่ายชุมชน 6 คน ซึ่งอาศัยอยู่ ณ ชุมชนเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และแบบวัดความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอันดับที่ pair- t test
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม 2) เครือข่ายชุมชนมีความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สัปดาห์ที่ 12 ภายหลังได้รับโปรแกรม

References

ปิยากร หวังมหาพร. (2562). บทบาทอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน:การเปลี่ยนแปลงจากการปกครองสู่การบริหารปกครองสาธารณะ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2562, จาก http://www.polsci-law.buu.ac.th/journal/document/8-2/1.pdf

วรณัน ประสารอธิคม, (2561). แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care). เอกสารประกอบการสอน.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. (2550). การศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการดูแลสุขภาพสาหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. กราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long term care) ในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติปีงบประมาณ 2559. สืบค้นจาก. http://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/Download /20151202/%E0%

กรรณิการ์ พงษ์สนิท. (2541). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วิทยานิพนธ์แพทย์ศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Khao Phra Ngam Municipality. (2016). Removing innovative lessons for the master's house project for chronic and elderly patients. Lop Buri: Khao Phra Ngam Municipality. (in Thai).

Cohen, J.M. and Uphoff, N. (1980). "Participation's Place in Rural Development: Seeking Claritythrough Specificity". World Development, 8, 213-235.

อรวรรณ สัมภวมานะ และคณะ. (2561). การพัฒนาการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลมะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข; 27(1). 157-167.

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี;4(2): 113-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29