ผลของการใช้แบบประเมิน Pediatric Early Warning Score (PEWS) ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันต่อผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ตึกกุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร
คำสำคัญ:
มาตรฐานการพยาบาล, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน, Pediatric Early Warning Score : PEWSบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวทางการใช้แบบประเมิน Pediatric Early Warning Score ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน ตึกกุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม 1)พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน 2)ผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แนวทางการใช้แบบประเมิน Pediatric Early Warning Score (PEWS) ร่วมกับการใช้กระบวนการทางพยาบาลไปใช้กับผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน 2)แบบสอบถามการรับรู้ต่อความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวทางแบบประเมิน Pediatric Early Warning Score 3)แบบสอบถามการรับรู้ต่อความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล 4)แบบประเมินคุณภาพแนวทางการใช้แบบประเมิน Pediatric Early Warning Score ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล 5)แบบประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล 6)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้แนวทางการใช้แบบประเมิน Pediatric Early Warning Score ร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวทางแบบประเมิน Pediatric Early Warning Score และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.001) ซึ่งผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด
References
สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.(2562). แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กพ.ศ. 2562. กรุงเทพ : บียอนด์เอ็นเทอร์
สถานการณ์โรคติดเชื้อในเด็ก 5 อันดับแรก. นางอรทัย ทองฝาก กลุ่มงานโรคติดต่อในเด็ก กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก:https://ddc.moph.go.th/uploads/files/4148720240312035207.pdf
อำไพรัตน์ สุทธิธรรมถาวร ประสิทธิภาพของระบบสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยเด็ก (Pediatric Early Warning System-PEWS) โรงพยาบาลศีขรภูมิ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2566;3ค(1): 19-28
National Paediatric Early Warning Score Chart Training Package (2017) [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://ihub.scot/media/2063/pews-education-pack-updated-july-17.pdf
Somporn Poolpanitoopatum. Pediatric Ramathibodi Early Warning System. [อินเตอร์เน็ต].2017 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://acrobat.adobe.com/id/urn:aaid:sc:ap:d38da7dc-fd4f-4db5-af55-e36e7b23739d
สภาการพยาบาล.มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๙๗ ง ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ หน้า 30 – 36.
อรนันท์ หาญยุทธ (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้ Nursing Process and Implications. วารสารพยาบาลทหารบก 2014: 15(3): 137–143.
สุเนตรา แก้ววิเชียรและคณะ (2565) ผลของการใช้แบบประเมินการคัดกรองโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคไข้เลือดออกต่อผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล ในสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี วารสารกรมการแพทย์ 2565: 47(4): 24-36
Yamini Krishnan a, *, Gazel Sainulabdin b, V. Sankar Uma c, P.S. Sreedharan d, Narayanankutty Warri. Clinical audit of a Paediatric Emergency Warning Score (PEWS) in the paediatric oncology unit of a newly established tertiary cancer institute. (2020). Pediatric Hematology Oncology Journal 5 (2020) 69e7.
กลุ่มภารกิจเวชสถิติ สถาบันบำราศนราดูร, 2566.
พนิดา จันทรัตนและคณะ(2563).การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสงขลา วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566: 32(1): 109-11
ศิริวรรณ วัดพ่วง(2563) ผลของ Pediatric Early Warning Score : PEWS ในการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อเฉียบพลัน หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2563: 1(3): 92-107
บัวรัตน์ ศรีนิล. 2560. “เอกสารประกอบการเรียน การออกแบบวิจัยธรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมล การออกแบบสอบถาม และการเลือกตัวอย่าง”. เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่