การพยาบาลผู้ป่วยแผลผ่าตัดติดเชื้อหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศรีสอางค์ ชุ่มละมัย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

การติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด , การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม , เชื้อดื้อยา, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลสระบุรี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ข้อมูลจากผู้ป่วยและญาติ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล ประเมินปัญหา ระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล และประเมินผลการพยาบาลครอบคลุมองค์รวม
     ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยกรณีศึกษารายนี้เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัวร่วม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้12วัน คือ มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดสะโพกซ้าย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ดูแล ที่ขาดการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้รับการรักษาโดยแพทย์ผ่าตัดเปิดปากแผลเพื่อล้างแผล พร้อม re-suture ใหม่ ร่วมกับ ให้ยาปฏิชีวนะฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 10 วัน อาการติดเชื้อดีขึ้นแพทย์จำหน่ายกลับบ้านได้

References

กำธร มาลาธรรม และ ยงค์ รงค์รุ่งเรือง. 2561. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

นงนุช ประทุม. 2563. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูง:กรณีศึกษาวารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1) : หน้า 76-90

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. 2561. ความปลอดภัยในการผ่าตัด พิมพ์ครั้งที่ 1. โชตนาพริ้นท์. เชียงใหม่.

วงเดือน สุวรรณคีรี และ ยุพเรศ พญาพรหม. 2560. การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 29 (ฉบับที่ 2) : หน้า 15-28.

สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย และ อภิชาต วชิรพันธ์. 2563. แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี.

สมาคมควบคุมการติดเชื้อแห่งเอเชียแปซิฟิก (APSIC). แนวทางปฏิบัติสำหรับการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด[อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก https://apsic-apac.org/wp-content/uploads/2019/02/APSIC-SSI-THAI-VERSION-JAN-2019.pdf

อรสา ชัยจันดี. 2562. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับทรวงอกที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีภาวะลม/น้ำในเยื่อหุ้มปอดและแผลติดเชื้อดื้อยา:กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร. ปีที่ 39 (ฉบับที่ 2) : หน้า 82-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30