การพัฒนาแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • หทัยชนก เกตุจุนา กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
  • ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
  • เบญจมาศ นาคราช สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ขวัญชนก ธีสระ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
  • สุภาพร ศุภษร กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล, ความดันโลหิตสูงระดับอันตราย, การยืนยันวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน 2) สำรวจการนำแนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลไปทดลองใช้ในโรงพยาบาล และ 3) ติดตามผลการดำเนินงานการติดตามและวินิจฉัยผู้รับบริการที่โรงพยาบาลที่มีค่าความดันโลหิตสูงอันตราย (SBP ≥ 180 mmHg และ/ หรือ DBP ≥ 110 mmHg) เก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมทดลองนำร่อง 33 แห่ง แบ่งเป็น การตอบแบบสำรวจการประเมิน Flow Chart แนวทางฯ และข้อมูลผู้รับบริการที่มาโรงพยาบาลที่มีค่าระดับความดันโลหิตสูงอันตรายที่ควรได้รับการวินิจฉัยหรือการติดตาม ระยะเวลาดำเนินงานทดลองใช้แนวทางฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ
     ผลการศึกษาพบว่า การนำแนวทางฯ ไปทดลองใช้ในโรงพยาบาล 33 แห่ง สามารถเพิ่มการยืนยันวินิจฉัยและการติดตามในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงอันตรายได้ โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1) เพิ่มการยืนยันวินิจฉัยขึ้นทะเบียนรักษาโรคความดันโลหิตสูงในวันนั้น มีผลการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 24.55 สูงกว่าก่อนเริ่มโครงการ ร้อยละ 21.06 และในปีงบประมาณ มีผลการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 52.92 สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 22.46 2) เพิ่มการติดตามและยืนยันวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ภายใน 1-7 วัน มีผลการดำเนินงานหลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 14.98  สูงกว่าก่อนเริ่มโครงการร้อยละ 14.35 และภายในปีงบประมาณ มีผลการดำเนินงานหลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 46.58 สูงกว่าก่อนเริ่มโครงการ ร้อยละ 35.64 ทั้งนี้แนวทางการจัดการเมื่อพบผู้รับบริการมีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาล ผ่านการประเมินและรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565

References

Wichai, A. (2021). Thai National Health Examination Survey, NHES VI. Bangkok: Aksorn Graphic And Design.

Wichai, A. (2014). Thai National Health Examination Survey, NHES VI-V. Bangkok: Aksorn Graphic And Design.

Wichai, A. (2009). Thai National Health Examination Survey, NHES VI-V. Bangkok: Graphico_System.

Pratoompis P. Effectiveness of Implementing Nursing Management Guidelines among Patients with Hypertension Disease in Medical Ward, Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital.,2022(Vol.30), 32- 51. (In Thai)

Yueayai, K. et al. (2020). Hospital-based intervention to enhance hypertension diagnosis in Kalasin hospital, Thailand, 2017-2019: A pre-post pilot intervention study. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdfdirect/10.1111/jch.13953

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30