การพัฒนาศักยภาพของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศิวัช ปิยะรัตนวัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมและรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลวังตะกู อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม จำนวน 32 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t – test
     ผลการศึกษา พบว่า ทักษะผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุตามกิจวัตรประจำวันตามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) และทักษะผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุตามบทบาทหลัก โดยรวมและรายข้อ ก่อนดำเนินการ อยู่ในระดับปานกลาง หลังดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยก่อนและหลังการดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่หลังการดำเนินงานทักษะผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุตามกิจวัตรประจำวันตามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) และทักษะผู้ช่วยเหลือในการดูแลผู้สูงอายุตามบทบาทหลัก มีมากกว่าก่อนดำเนินงาน

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).(2553). รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2559). ใช้กายภาพบำบัด เปลี่ยนผู้สูงอายุติดเตียง ติดบ้าน เป็นติดสังคมแทน https://www.hfocus.org/content/2016/06/12304

พีรภัทร์ วัฒนวนาพงษ์ และ ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพของผู้ดูแล อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 14(1), 123-137.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์.(2564). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Best, John W.1981. Research in Education. 4 rd ed. Englewood.Cliff, N.J. : Prentice Hall.

วิยะดา รัตนสุวรรณ ปะราลี โอภาสนันท์.(2561). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 11(4). 156 - 174

ศิริพันธุ์ สาสัตย์.(2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาว: คุณภาพการดูแล และความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติของบุคลากรทางการพยาบาล. โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554 คลัสเตอร์สังคมผู้สูงอายุ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญานนท์ งามเฉลียว.(2564). การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care). 2564. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564[https://meded.psu.ac.th/binla/class04/ 388_441/Home _Health_Care/ index.html

ประเสริฐ สาวีรัมย์.(2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการพัฒนาความรอบรู้ด้วยหลักสูตร “CG เชี่ยวชาญ” ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 16(1). 86-100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30