ผลของโปรแกรมการเสริมพลังทางบวกต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณผู้ดูแลหลักในผู้ป่วย ระยะท้ายโรคมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • กรรธิมา ฝาระมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การเสริมพลังทางบวก, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้ดูแลหลัก

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ดูแลหลักผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็งก่อน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมพลังทางบวกต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณผู้ดูแลหลักในผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็ง 2) เปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมเสริมพลังทางบวกต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ดูแลหลักผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็ง เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียวกันวัดผลก่อน และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนมจำนวน 33 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย แบบประเมินสุขภาพจิต General Health questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ-28) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้านสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และความผาสุกทางจิตวิญญาณด้วยสถิติ Dependent pair sample t-test
      ผลการวิจัย พบว่า ระดับสุขภาพจิตโดยรวม ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าคะแนนระดับน้อย หลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าคะแนนระดับมาก ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับน้อย หลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับมาก และระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ดูแลหลักผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็งโดยรวม ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับน้อย หลังการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้านสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต และความผาสุกทางจิตวิญญาณ ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเสริมพลังทางบวกต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณผู้ดูแลหลักในผู้ป่วยระยะท้ายโรคมะเร็ง พบว่า หลังได้รับโปรแกรมการทดลอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05

References

WHO. (2022). Classification of Tumours Editorial Board. Lyon: International Agency for Research on Cancer; 2022.

Annual Report to the Nation on the Status of Cancer, 2022.

กลุ่มงานบริหารทั่วไป โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม. (2566). สถิติจำนวนผู้ป่วย พ.ศ. 2566.

สุมิตรา ติระพงศ์ประเสริฐ, นิภาวรรณ สามารถกิจ, วิภา วิเสโส. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(1); 67-79.

Pitanupong J. and Janmanee S., (2021). End-of-life care preferences among cancer patients in Southern Thailand: a university hospital-based cross-sectional survey. BMC Palliative Care. 23 June 2021, 20(90); 1-8.

ปภาวรินทร์ มีชนะ. (2566). ผลของโปรแกรมสนับสนุนญาติดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 38(3). 639-647.

เขมจิต มุกดาดี, วรรณา ฉายอรุณ, และสุจิรา ฟุ้งเฟื่อง. (2564). ผลของศิลปะบำบัดต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2564;16(2):150-60.

ช่อผกา ปุยขาว, สุรีพร ธนศิลป์, จรรยา ฉิมหลวง. (2562). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารเกื้อการุณย์, 2562; 26(2):93-106.

พิมพ์พนิต ภาศรี, แสงอรุณ อิสระมาลัย, อุไร หัถกิต. (2558). ทรรศนะของครอบครัวและความต้องการการช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารสภาการพยาบาล, 30(4) ;57-71.

Thapanakulsuk P., Sirapo-ngam Y., Ferrans C.E., Orathai P., and Junda T. (2020). Psychometric testing of a spiritual well-being scale for people with cancer. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 24(1); 39-53.

O’Brien, M.E. (2011). The need for spiritual integrity. In Yura, H., & Walsh, M. eds.

กาญจนา จันทร์สูง. ABC in Research (ตอนที่ 1) : การออกแบบงานวิจัยเบื้องต้น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2546. 18(2) 118-123.

พัชราภรณ์ ติ่งชุ่ม, ศากุล ช่างไม้ และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2564). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อความโดดเดี่ยวและความผาสุกของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, (32)1; 182-194

ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2545). แบบสอบถาม Thai General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ 12-28-30-60). โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

Goldberg D.P. (1973). The Detection of Psychiatric illness by questionnaire. Oxford University Press: London, 3(2); 257-264. DOI: https://doi.org/10.1017/S0033291700048613

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิรวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิต วงศ์สุวรรณ, ราณี พรหมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. วารสารกรมสุขภาพจิต, 5(3); 4-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30