สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
คำสำคัญ:
สมรรถนะทางวัฒนธรรม, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของสมรรถนะทางวัฒนธรรม และเปรียบเทียบสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 222 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการหาความตรงตามเนื้อหาและหาความเชื่อมั่นด้วยวิธีครอนบาคได้เท่ากับ0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance) และวิเคราะห์ Post Hoc ด้วย LSD
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มีระดับสมรรถนะทางวัฒนธรรมในภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมรายด้านเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านการมีความไวต่อการแสดงออกทางวัฒนธรรม 2) ด้านการมีความสามารถในการ ติดต่อสื่อสาร 3) ด้านการเคารพความเป็นบุคคล 4) ด้านการเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรมและ 5) ด้านการให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ส่วนผลการเปรียบเทียบสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษา พบว่าสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 แตกต่างจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เลขาธิการสภาการพยาบาล, สำนักงาน. (2561). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องสมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2567 จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf
Giger, J.N. & Davidhizar, R. (2002). The Giger andDavidhizar Transcultural Assessment Model. Journal of Transcultural Nursing.13(3) : 185-188.
Campinha-Bacote, J. (2002). The process of cultural competence in the delivery of healthcare services: A model of care. Journal of Transcultural Nursing, 13(3), 181-184.
Krejcie, R.V.,& Morgan D.W.(1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement. 30(3) 607-610.
Best, John W. 1977. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.
เยาวดี สุวรรณาคะ, บุญสืบ โสโสมและกนกอร ชาวเวียง. (2557). รูปแบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางวัฒนธรรมสำหรับอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 34(4) กันยายน- ธันวาคม: 162-171.
Ličen S, Prosen M. The development of cultural competences in nursing students and their significance in shaping the future work environment: a pilot study. BMC Med Educ. 2023 Nov 1;23(1):819. doi: 10.1186/s12909-023-04800-5. PMID: 37915004; PMCID: PMC10621240.
นราตรี อภิชัยเจริญ. (2561). สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกรุงเทพ ภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฮานีฟะฮ เจ๊ะอาลีและเจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะ.(2562). สมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 30(2) พฤษภาคม- สิงหาคม: 148-154.
รุ่งนภา จันทรา, สุทธานันท์ กัลป์กะ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ์ รองเมืองและรัถยานภิศ รัชตะวรรณ. (2563). สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 30(1) มกราคม-เมษายน: 35-46.
มยุรี ลีกำเนิดไทย และอารี ชีวเกษมสุข.(2558). สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 9(2) กรกฏาคม-ธันวาคม: 32- 38.