การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในระยะวิกฤต โรงพยาบาลกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วารุณี เข็มลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองแตก, ระยะวิกฤต, การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อวินิจฉัยการพยาบาล การพยาบาลและผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก กรณีศึกษา 2 รายและเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
     ผลการศึกษา : กรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 40 ปี การวินิจฉัย Basal gangion Hemorrage เข้ารักษาด้วยอาการ ซึมลง แขนและขาด้านขวาอ่อนแรง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง ประวัติโรคร่วม ความดันโลหิตสูง รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง หยุดยาเอง ขาดการเข้าตรวจตามนัด ระดับความรู้สึกตัวแรกรับGlasgow comascore(GCS) E3VTM5 Motor power left grade V right grade 0 รับการรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง Craniectomy with remove clot และควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง พบปัญหาขณะดูแล ได้แก่ ภาวะ Acute respiratory failure, Hypertension, Hypokalemia ปัญหาการเคลื่อนไหวบกพร่อง หลังรับการรักษาผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรค อาการผู้ป่วยดีขึ้นตามลำดับ จำหน่ายโดยแพทย์อนุญาต
     กรณีศึกษารายที่ 2 ชายไทย อายุ 44 ปี การวินิจฉัย Intracerebral hemorrhage เข้ารักษาด้วยอาการ แขน ขา อ่อนแรงซีกซ้าย ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ซึมลง เป็นก่อนมาโรงพยาบาล 2 ชั่วโมง ปฏิเสธโรคประจำตัว มีประวัติสูบบุหรี่และดื่มสุรา ระดับความรู้สึกตัว Glasgow comascore (GCS) E2VTM5 Motor power left grade III right grade V รับการรักษาด้วยการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงและวางแผนผ่าตัดสมอง ญาติปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัดสมองไม่กดนวดหัวใจ เลือกการรับการรักษาแบบประคับประคองต้องการให้ผู้ป่วยตายดี ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและมีภาวะสมองตาย แพทย์ได้แจ้งอาการให้ญาติผู้ป่วยรับทราบอาการเปลี่ยนแปลงและแผนการรักษาและให้ข้อมูลการบริจาคอวัยวะในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตายให้ญาติรับทราบ ญาติตัดสินใจบริจาคอวัยวะทุกส่วนที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยในวาระสุดท้ายของชีวิต

References

World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2022 [Internet]. 2024 [cited 2024 Apr 15]. Available from: https://www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO Global Stroke Fact Sheet.pdf

American Stroke Association.(2023) Guideline for the early Management of patient With Acute Ischemic Stroke. Retrieved january 10, 2023, from https://www.bmc.org/sites/default/files/Patient_Care/Specialty_Care/Stroke_and_Cerebrovascular_Center/Medical_Professionals/ Protocols

World Health Organization. (2020). World stroke campaign [Internet]. [cited 2020 Jan 21] Available from: http://www.world-stroke.org/advocacy/world-stroke-campaign

สถาบันประสาทวิทยา ชมรมพยาบาลโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย.(2563).แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตก กรุงเทพฯ:สถาบันประสาทวิทยา.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย[อินเตอร์เน็ต). 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2566]:39(2):39-46. เข้าถึงได้จาก:http://neurothai.erg>journal>vol39 no26.

ฐิตาพร วรภัณฑ์วิศิษฏ์, อุไร จังโล่ง, ศิริขวัญ นาควิลัย, ภารดี ชัยรัตน์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่รับการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร [อินเตอร์เน็ต]. 2564 (เข้าถึงเมื่อ 15 เมษายน 2567 ; 27(2): 163-74. เข้าถึงได้จาก:https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/241091/172055

สถิติข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. งานข้อมูลและสถิติ. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลกาฬสินธุ์; 2563-2565. (คัดสำเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30