การประเมินผลลัพธ์ของแนวทางปฏิบัติในการประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาโอเมพราโซลในการป้องกันแผลทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่พัฒนาโดยโรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พิชญา อุดมศิลป์ เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • อุไรวรรณ อกนิตย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ตุลาการ นาคพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาเภสัชกรรมสังคม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การประเมิน, ผลลัพธ์, แนวทางปฏิบัติ, ความสมเหตุผล, โอเมพราโซล, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลไปข้างหน้ามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสมเหตุผลของการสั่งใช้ยาโอเมพราโซลและประเมินมูลค่ายาในการป้องกันแผลในทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs; NSAIDs) เปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้แนวทางปฏิบัติฯ  และประเมินปัญหาการใช้ยา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกที่มารับยาแอสไพรินต่อเนื่อง หรือมาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อที่ได้รับ NSAIDs และอาจได้รับยาป้องกันการเกิดแผลทางเดินอาหารระยะเวลา 1 เดือน ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 15 กันยายน พ.ศ.2566  โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล
     จากการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยทั้งหมด 100 รายที่มีการใช้ยาโอเมพราโซลในการป้องกันแผลทางเดินอาหารจาก NSAIDs พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ได้รับยาแอสไพรินจำนวน 91 ราย และมี 9 รายที่ได้รับยานาพรอกเซน หลังพัฒนาแนวทางปฏิบัติฯ และนำไปใช้ประเมินผู้ป่วยมีการใช้ยาโอเมพราโซลไม่สมเหตุผลลดลงจากร้อยละ 46.35 เหลือร้อยละ 9.00 และมูลค่ายาโอเมพราโซลที่ใช้ไม่สมเหตุผลลดลงจาก 96.74 บาทต่อราย เหลือ 13.03 บาทต่อราย ปัญหาการใช้ยาคือความร่วมมือในการใช้ยา จำนวน 13 ราย รองลงมาคือการได้รับยาที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีข้อบ่งใช้ทางวิชาการ จำนวน 9 ราย

References

Khan MA, Howden CW. The role of proton pump inhibitors in the management of upper gastrointestinal disorders. Gastroenterol Hepatol (NY) 2018; 14: 169-75.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. รายงานการศึกษาประสิทธิผลรักษาและความปลอดภัยของยายับยั้งการหลั่งกรดกลุ่ม Proton Pump Inhibitors. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2555.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 182 ง (ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2565).

พิชญา อุดมศิลป์, ตุลการ นาคพันธ์ และอุไรวรรณ อกนิตย์. การประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาโอเมพราโซลตามแนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการป้องการเกิดแผลทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2566; 15(1): 1-10.

Lanza FL., Chan FK. Quigley EM. Parameter Committee of the American College of Gastroenterololy (2009). Guidelines for prevention of NSAID-related ulcer complications2009. The American Journal of Gastroenterology.104, 728-38.

Omeprazole. In: DRUGDEX [database on the Internet]. Greenwood Village (CO): IBM Corporation;2022 [cited 2022 Oct 1]. Available from: www.micromedexsolutions.com. Subscription required to view.

Pittayanon R, Leelakusolvong S, Vilaichone RK, Roj borwonwitaya J, Treeprasertsuk S, Mairiang P, et al. Thailand dyspepsia guidelines: 2018. Neurogastroen terol Motil 2019; 25: 15-26.

คณะกรรมการผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 (Thailand GERD guideline 2020). กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2563.

กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ในประเทศไทย พ.ศ 2558. กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์ เมดิคัส จำกัด: 2558.

พนารัตน์ ชุติมานุกูล และปภัสรา วรรณทอง. การศึกษาผลของกระบวนการแทรกแซงโดยเภสัชกรต่อความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาโอเมพราโซล ในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก 2567; 30(1): 14-25.

ภาวิตา จริยาเวช และปิยะเมธ ดิลกธรสกุล.การใช้ยาโอเมพราโซลเกินความจาเป็นและความสูญเสียทางการเงินในบริบทโรงพยาบาลชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561; 10(2) : 437-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30