ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบไร้รอยต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคอง
คำสำคัญ:
การดูแลแบบระคับประคองที่บ้าน, อาการรบกวน, ผลลัพธ์การดูแล, ภาวะเครียด, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบไร้รอยต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคอง พื้นที่อำเภอเขาวง โรงพยาบาลเขาวง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคองที่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับบริการดูแลแบบประคับประคองในเครือข่ายบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเขาวง และผู้ดูแลหลักของผู้ป่วยดูแลแบบประคับประคองทั้งเพศหญิงและชายอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูลและโปรแกรมการพยาบาลแบบไร้รอยต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน ร้อยละ และ paired t-test
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลแบบไร้รอยต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคอง ผู้ป่วยระยะท้ายมีคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนโดยรวม และมีคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) และผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลแบบประคับประคองที่บ้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
References
WHO, Organization WH, WHO. eHealth standardization and interoperability. Sixty-Sixth World Health Assembly Wha66.24 2013
จอนผะจง เพ็งจาด. (2557). บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(1), 100-107.
ชุติกาญจน์ หฤทัย และคณะ. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. ประทุมธานี:สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด.
Global atlas of palliative care at the end of life. World wide Palliative Care Alliance [Internet]. 2014 [cited 2023 January 15]. Available from: https://www. who.int/nmh/Global_ Atlas_of_ Palliative_Care.pdf
Phadungsri P, Ladla A. Development of care model for patients with end stage of cancer: from hospital to home Ubonrat hospital, Khon-Kaen province. Journal of Nursing and Healthcare 2019;37(2):199-207. (in Thai)
Fabie J, Walker K, Pharm D, Kearney C. The power of a plan: the impact of palliative care decisions at hospital discharge on readmission rates (S730) JPSM 2016;51(2):e 423
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยา วิพากษ์. จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา 2561;10(39):3-7
อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียด ฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551;16(3),177-85
Robbins, S. P. (2001). Organizational behavior. Upper Saddle River. NJ.: Prentice-Hall.
รัชนี นามจันทรา, กนกพร นทีธนสมบัติ, สุมานี ศรีกำเหนิด. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน.วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียว 2009;10(1):59-67
Labson MC, Sacco CMM, Weissman DE, Gornet B, Stuart FB. Innovative models of home-based palliative care. Cleveland clinic journal of Medicine 2013;8(e-supplement 1).