ความพึงพอใจของผู้รับการตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ที่มีต่อการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะของผู้รับการตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอที่มีต่อการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับการตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ จำนวน 289 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะของผู้รับการตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจ ด้วยสถิติ Independent Samples T-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566 ภาพรวมระดับมาก (Mean=4.31,S.D.=0.49) และรายด้านระดับมาก ได้แก่ ด้านความรู้ (Mean=4.44,S.D.=0.50) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล(Mean=4.34, S.D.=0.51) ด้านกระบวนการตรวจราชการและนิเทศงาน (Mean=4.25,S.D.=0.54) และด้านทักษะ (Mean=4.23,S.D.= 0.56) ตามลำดับ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจของผู้รับการตรวจราชการและนิเทศงานเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน (t =1.49, Sig.=0.136) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการตรวจราชการและนิเทศงาน ได้แก่ ประเด็นรูปแบบ กระบวนการ ร้อยละ 36.28 ประเด็นช่วงเวลา ร้อยละ 32.24 และประเด็น หัวข้อ ตัวชี้วัด ร้อยละ 12.90 ตามลำดับ
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566 จากhttps://spd.moph.go.th/20-year-national-strategy-public-health/
กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง.กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2560. (2560, มิถุนายน 14).ราชกิจจานุเบกษา, 134 ,(64 ก),12
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). เกณฑ์พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2552 (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: วิชั่นพริ้นท์ แอนด์มีเดีย จำกัด.
วิรัช ประวันเตา, และจามจุรี เพียรทำ. (2566). ศึกษาเรื่องความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับจังหวัดที่มีต่อผู้นิเทศในการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 165-175
ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
เพ็ญพิชชา ล้วนดี, และเยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. (2558). ศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 48-59
บุษราคัม แก้วกระจ่าง. (2558). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการในแผนกอายุรกรรมโรคมะเร็ง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธเนศ โชคพระสมบัติ. (2566). ศึกษาเรื่องปัญหาและสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(2), 119-129
พรเทพ นวไพบูลย์. (2566). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองจังหวัดฉะเชิงเทรา. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 1-8
อิทธิพัทธ์ จันทร์สาคร. (2565). ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.