ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2564–2566

ผู้แต่ง

  • สง่า ไชยนา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง, การบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง และวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การเงินการคลังของโรงพยาบาลในจังหวัดหนองบัวลำภู ช่วงปีงบประมาณ 2564–2566 ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 6 แห่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการดำเนินกิจกรรมการบริหารการเงินการคลังจากคณะกรรมการบริหารการเงินการคลัง (CFO) ของโรงพยาบาล ตามรายชื่อในคำสั่งที่แต่งตั้งปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมด 72 คน ได้รับการตอบกลับ 69 คน (ร้อยละ 95.83) เก็บข้อมูลทางการเงินการคลังของโรงพยาบาล เพื่อประเมินการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดด้านการบริหารการเงินการคลัง จากเว็บไซต์ของกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่อื่นเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านการบริหารจัดการการเงิน การคลัง กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลัง ด้วยสถิตินอนพาราเมตริก Spear mann’s correlations และ Linear Regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
     ผลการศึกษา พบว่า ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเงินการคลัง ปี 2564 -2566 พบว่า โรงพยาบาลทุกแห่งไม่มีวิกฤติด้านการเงิน โดยมีความเสี่ยงวิกฤติการเงินในระดับปกติ – ระดับต่ำ (ระดับ 1–2) คะแนนประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง 7 Plus efficiency score ไม่ผ่านเกณฑ์ มีคะแนนอยู่ระหว่าง 1–4 คะแนน จากการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์การเงินการคลัง พบว่า ทุกโรงพยาบาลมีแนวโน้มสัดส่วนรายได้ต่อค่าใช้จ่าย (I/E Ratio) ลดลง ทุนสำรองสุทธิ (NWC) และเงินบำรุงคงเหลือสุทธิหลังหักหนี้ (HMBRD) ลดลง ส่วนแนวโน้มการผ่านเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง 7 Plus efficiency score ดีขึ้นเล็กน้อย ผลประเมินกิจกรรมการบริหารการเงินการคลัง ตามการรับรู้และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ CFO มีคะแนนเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (4.25–5.00) ทั้ง 5 ด้าน และพบว่า ด้านการกำกับติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value < 0.01

References

De Savigny D,Adam T. Systems thinking for health systems strengthening. Word Health Organization; 2009.

ชุมพล ผ่องนุช สมอาจ วงษ์ขมทอง จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง เนตรชนก ศรีทุมมา. “โมเดลความสัมพันธ์ เชิงโครงสร้างระหว่างภาวะผู้นำกลยุทธ์และกลยุทธ์ด้านการเงินของโรงพยาบาลที่ส่งผลต่อผลการ ดำเนินงานด้านการเงินของโรงพยาบาลชุมชน.”วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 2559; 28(2), 11-28.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2566 รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค. 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/ operating_ results/54.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรอบแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพโดยเครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ประจำปี 2563. หนองบัวลำภู: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู; 2563.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2566] เข้าถึงได้จาก: https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2564/P_403360_12.pdf.

วาสนา จังพานิช. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล ประจวบคีรีขันธ์. 2561; 3(1): 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30